สืบค้นงานวิจัย
สมดุลธาตุอาหารในระบบการปลูกปลูกหมุนเวียนข้าว - ถั่ว บนพื้นที่สูงใน ภาคเหนือของประเทศไทย
อดิเรก ปัญญาลือ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: สมดุลธาตุอาหารในระบบการปลูกปลูกหมุนเวียนข้าว - ถั่ว บนพื้นที่สูงใน ภาคเหนือของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Nutrient balance of highland rice - legume crop rotation in Northern Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อดิเรก ปัญญาลือ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Adirek Punyalue
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เกษตรกรบนพื้นที่สูงส่วนใหญ่ทำการเพาะปลูกข้าวนาอย่างเดียวและไม่มีการปลูกพืซหมุนเวียนเพื่อบำรุงดิน ดังนั้นการปลูกข้าวหมุนเวียนกับพืชตระกูลถั่วจึงเป็นแนวทางการปรับปรุงบำรุงดินในการปลูกข้าวบนพื้นที่สูง การวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลผลิต และสมดุลธาตุอาหารในระบบการปลูกหมูนเวียนข้าว - ถั่ว ดำเนินงานทดลองที่หมู่บ้าน แม่ว่าก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ระดับความสูง 670 เมตรจากระดับน้ำทะเล ระยะเวลาระหว่างเดือนเมษายน 2560 - มีนาคม 2561 วางแผนการทดลองแบบ RCBD (Randomized Complete Block Design) จำนวน 5 วิธีการ 3 ซ้ำ ได้แก่ 1) ปลูกข้าวนาอย่างเดียว 2) ข้าว - ถั่วขาว 3) ข้าว - ถั่วแดงหลวง 4) ถั่วแปะยี - ข้าว - ถั่วขาว และ 5) ถั่วแปะยี - ข้าว - ถั่ว แดงหลวง ผลการทดลองพบว่า ผลผลิตและเศษเหลือทิ้งทั้งของข้าวและถั่วในวิธีการปลูกทั้ง 5 วิธี ไม่มีความแตกต่างทาง สถิติในส่วนของปริมาณไนโตรเจนที่กลับคืนสู่ดินนั้นพบมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) โดยพบปริมาณ ไนโตรเจนที่กลับคืนสู่ดินเพิ่มขึ้นโดยวิธีการปลูกข้าว - ถั่วขาว/ถั่วแดงหลวง 99.2 - 116.0% และปลูกถั่วแปะยี - ข้าว - ถั่ว ขาวถั่วแดงหลวงปริ้มาณนโตรเจนที่กลับคืนสู่ดินเพิ่มขึ้น 165.0 - 167.6% เมื่อเทียบกับแปลงที่ปลูกข้าวอย่างเดียว จากการทดลองแสดงให้เห็นว่าทุกวิธีการทดลองให้สมดุลไนโตรเจนในเป็นลบ (negative N balance) และการปลูกข้าวนา อย่างเดียวส่งผลให้สมดุลธาตุอาหารเป็นลบมากที่สุด (-8.3 กก. Nไร่) ดังนั้นระบบการปลูกหมุนเวียนข้าว - ถั่วจึงเป็นวิธี การลดการสูญเสียของธาตุอาหารในพื้นที่ปลูกข้าว เพื่อให้การทำเกษตรบนพื้นที่สูงมีความยั่งยืน
บทคัดย่อ (EN): Highland farmers in Thailand grow one rice crop per year. However, these farmers lack soil maintenance measures as well as crop rotation. A rice-legume crop rotation could therefore be a way to improve land use in these areas. With the objective to evaluated grain yield and nutrient balance in rice - legume crop rotation. On-farm experiment was executed in the Mae Wak village, Mae Chaem district, Chiang Mai province at an altitude of 670 m (MSL) (April 2016 to March 2017). A randomized complete block design was used with five treatments and three replicates. The treatments were: 1) rice (Oryza sativa) monoculture 2) rice - navy bean (Phaseolus vulgaris) 3) rice - kidney bean (Phaseolus vulgaris) 4) lablab (Lablab purpureus) - rice - navy bean and 5) lablab - rice - kidney bean. The experiment showed that grain yieldand crop residue of rice and legume was not-significantly different between the treatments. Total nitrogen retaining in the soil was significantly different between treatments. Nitrogen retained in the soil increased by 99.2 -116.0% in rice-kidney bean /navy bean and 165.0 - 167.6% in lablab-rice-kidney bean/ navy bean when compared to rice monoculture. Nitrogen balance in the experiments showed a negative balance and rice monoculture had the highest negative N balance (-8.3 kg. N/rai). Therefore, rice - legume system base reduced the nutrient removal from the rice field for highland sustainable agriculture.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=5_Agr161.pdf&id=3394&keeptrack=4
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สมดุลธาตุอาหารในระบบการปลูกปลูกหมุนเวียนข้าว - ถั่ว บนพื้นที่สูงใน ภาคเหนือของประเทศไทย
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2562
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
อิทธิพลของการปลูกพืชแซมต่อประสิทธิภาพของข้าวโพดและถั่วพุ่มที่ปลูกบนดินลูกรัง การใช้สารกำจัดวัชพืช Fenoxaprop-p-ethyl และ Lactofen ในถั่วเหลืองปลูกหลังข้าว ผลของวันปลูกถั่วดำปลูกเหลื่อมข้าวโพดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชทั้งสองภายใต้สภาพที่ดอนอาศัยน้ำฝน ผลของน้ำมันรำข้าวและใยอาหารจากเปลือกถั่วเหลืองต่อคุณภาพของไส้กรอกปลาดุกบิ๊กอุย ผลของอัตราปุ๋ยคอกและวันปลูกต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งมีชีวิตหน้าดินและในดินและคุณสมบัติดินในระบบการปลูกข้าวโพดแซมด้วยถั่วเขียวภายใต้สภาพดินลูกรัง การศึกษาอัตราส่วนของฟางถั่วเหลืองกับฟางข้าวในการบ่มด้วยแอมโมเนียที่มีผลต่อสมรรถภาพของโค การศึกษาเปรียบเทียบการปลูกกัญชงทดแทนข้าวโพดในเขตพื้นที่สูงของภาคเหนือตอนบน รูปแบบการจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวอินทรีย์ในเขตพื้นที่ชลประทาน การพัฒนาระบบเกษตรนาแปลงใหญ่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ศักยภาพผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรของข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองปลูกในระบบการปลูกข้าวไร่ก่อนปลูกอ้อย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก