สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาสถานการณ์การผลิตการตลาดในประเทศและตลาดส่งออกหม่อนไหม
ภุชงค์ เพชรมนต์1, มณฑล เสวตานนต์2, วรพจน์ รักสังข์2, พรทิพย์ เพชรมนต์3, นพดล พันธุ์คำเกิด4, ปรีชา แต่งผิว5, เยาวภา สุกฤษตานนต์6, อัญชลี เชื้อบุญมี7, ธนพร ศิลปะชัย4, เรืองศักดิ์ บุญโนนแต้6 - กรมหม่อนไหม
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสถานการณ์การผลิตการตลาดในประเทศและตลาดส่งออกหม่อนไหม
ชื่อเรื่อง (EN): Situated Study of Silk Production, Marketing and Export
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การสำรวจรวบรวมข้อมูลปี 2547/2548 พบว่า พื้นที่ปลูกหม่อนลดลงเหลือ 154,991 ไร่ จำนวนเกษตรกรเหลือเพียง 115,749 ครอบครัว ปริมาณเส้นไหม ปี 2546 เส้นไหมผลิตภายในประเทศ 234.33 ตัน นำเข้า 285.7 ตัน ใช้ในประเทศ 535.82 ตัน (กรมส่งเสริมการเกษตร) กลุ่มทอผ้า รายได้เฉลี่ย 3,000-5,000 บาท/เดือน/ราย ส่วนใหญ่ทำเป็นอาชีพเสริม สภาพปัญหา เส้นไหมราคาสูงทำให้ต้นทุนสูง เส้นสาวมือบางช่วงขาดตลาด มีผลต่อการผลิตสินค้า กลุ่มขาดอำนาจต่อรอง ส่งผลถึงการแข่งขันลดลง เส้นไหมคุณภาพต่ำ โดยเฉพาะเส้นสาวมือ กลุ่มร้านค้า ชนิดและผลิตภัณฑ์มาจากแหล่งผลิตใหญ่ๆ เช่น อ.ปักธงชัย นครราชสีมา อ.บ้านเขว้า ชัยภูมิ และ อ.ชนบท ขอนแก่น แต่ละร้านนำผ้ามาตัดเป็นเสื้อและชุดสำเร็จรูป เพราะตลาดยังต้องการมาก ตลาดการเงินของกลุ่มร้านค้ามีเงินหมุน 7-15 ล้านบาทต่อเดือน ปัญหาใหม่ๆ คือ ผ้า OTOP ขายได้ราคาถูกเพราะรัฐดูแลเรื่องทุนและตลาดให้ ส่งผลกระทบต่อตลาดผ้าไหมเดิมมาก ผลผลิตยังไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการผลิตไม่ศึกษาทิศทางความต้องการของตลาด ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ผลิต ตลาดส่งออก ตารางที่ 3-16 ตลาดส่งออกผ้าทำจากไหมของไทย ปี 2546-2549 เปอร์เซ็นต์การขยายตัวน้อยมาก ถ้าพิจารณาถึงคู่แข่งในตลาด คือ จีน อินเดีย อิตาลี ไทยจะต้องปรับความสามารถแข่งขันให้สูงขึ้น ปัญหาอุปสรรคในการส่งออก พบว่า ราคาผ้าไหมของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งโดยเฉพาะจีน และอินเดียซึ่งราคาต่ำกว่าไทยมาก อาจเป็นเพราะราคาปัจจัยการผลิตและวัตถุดิบที่ใช้ผลิตราคาสูงเป็นจุดสำคัญที่รัฐต้องช่วยเร่งแก้ไข เข้ามาดูแลปัญหา ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะกระทบการส่งออก เพราะการแข่งขันจะลดลง ผ้าไหมไทยเข้าถึงเฉพาะตลาดบน ตลาดล่างส่วนใหญ่ประเทศคู่ค้าเลือกนำเข้าจากจีนและอินเดีย การสนับสนุนจากภาครัฐในด้านการขยายตลาดทั้งภายในและต่างประเทศขาดความต่อเนื่อง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
เอกสารแนบ: https://qsds.go.th/newosrd/wp-content/uploads/sites/115/2021/08/2550-11.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมหม่อนไหม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาสถานการณ์การผลิตการตลาดในประเทศและตลาดส่งออกหม่อนไหม
กรมหม่อนไหม
2550
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมหม่อนไหม
สถานภาพการผลิตและตลาดไหม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การระบุเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับกลไกการตอบสนองต่อความเค็มของหม่อน สถานการณ์การผลิตและการตลาดถั่วเหลือง ปี 2527 การผลิตและการตลาดสับปะรด จังหวัดเพชรบุรี การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดทุเรียนของประเทศไทย พ.ศ. 2532-2536 การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดลิ้นจี่ของประเทศไทย พ.ศ. 2533-2537 การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน การตลาดและศักยภาพการผลิตหนอนนกเป็นเชิงการค้าในประเทศไทย ศึกษาการผลิตและการตลาดพริก สถานการณ์การผลิตและตลาดถั่วเหลืองปี 2528

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก