สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาชีววิทยาของประชากรปูทะเล Scylla sp.ในอ่าวตราด จังหวัดตราด
สนธยา กูลกัลยา - มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ชื่อเรื่อง: การศึกษาชีววิทยาของประชากรปูทะเล Scylla sp.ในอ่าวตราด จังหวัดตราด
ชื่อเรื่อง (EN): Biology Study of Mud Crab, Scylla sp., Population in Trat Bay, Trat province.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สนธยา กูลกัลยา
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: จากการสำรวจ ปูทะเลที่พบในอ่าวตราด จังหวัดตราด ในช่วงเวลาระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม 2551 พบปูทะเล 3 ชนิด โดยมีความชุกชุมเรียงตามลำดับคือ Scylla paramamosain (95%) S. olivacea (4%) และ S. tranquebarica (1%) พบอาศัยอยู่ทั่วพื้นที่อ่าวตราด และมีความชุกชุมมากในบริเวณชายขอบของป่าชายเลน ปูทะเลสกุล Scylla ทุกชนิดที่พบในอ่าวตราด มีการเติบโตแบบ allometric growth โดยปูทะเล S. paramamosain มีค่าคงที่การเติบโต(K) เท่ากับ 0.78/ปี มีความกว้างกระดองขนาดใหญ่ที่สุดที่สามารถเติบโตได้ (ECW?) เท่ากับ 166.56 มิลลิเมตร น้ำหนักตัวสูงสุดที่สามารถเติบโตได้(W?) เท่ากับ 692.25 กรัม ปูทะเล S. olivacea มีค่าคงที่การเติบโต(K) เท่ากับ 0.99/ปี มีความกว้างกระดองขนาดใหญ่ที่สุดที่สามารถเติบโตได้(ECW?) เท่ากับ 130.71 มิลลิเมตร น้ำหนักตัวสูงสุดที่สามารถเติบโตได้(W?) เท่ากับ 393.86 กรัม และปูทะเล S. tranquebarica มีค่าคงที่การเติบโต(K) เท่ากับ 0.80/ปี มีความกว้างกระดองขนาดใหญ่ที่สุดที่สามารถเติบโตได้ (ECW?) เท่ากับ 150.46 มิลลิเมตร น้ำหนักตัวสูงสุดที่สามารถเติบโตได้(W?) เท่ากับ 615.06 กรัม ชนิดอาหารที่ปูทะเลทั้ง 3 ชนิดกินเป็นส่วนมากคือ ปลา รองลงมาคือหอย และcrustacean ประชากรปูทะเลทั้ง 3 ชนิดในอ่าวตราดสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี โดยการวางไข่เพิ่มมากขึ้นในสองช่วงเวลาคือ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน และช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ปูทะเลชนิด S. olivacea และ S. tranquebarica มีการวางไข่ในช่วงที่สองมากกว่าการวางไข่ช่วงที่หนึ่งโดยวัดจากค่า GSI และสัดส่วนระยะการพัฒนาของรังไข่ ปูทะเลชนิด S. paramamosain มีค่าความดกไข่เฉลี่ย 2,092,938 ฟอง/ตัว ปูทะเลชนิด S. olivacea มีค่าความดกไข่เฉลี่ย 1,708,482 ฟอง/ตัว และ ปูทะเลชนิด S. tranquebarica มีค่าความดกไข่เฉลี่ย 2,052,305 ฟอง/ตัว ปูทะเล S. paramamosain, S. olivacea และ S. tranquebarica มีขนาดที่ประชากรเพศเมียครึ่งหนึ่งสามารถสืบพันธุ์ได้ (ECW50) ที่ความกว้างกระดอง 111.24, 99.90 และ 111.71 มิลลิเมตร ตามลำดับ ปูทะเลทั้ง 3 ชนิดตรวจพบปรสิตในสกุล Octolasmis เข้าเกาะติดร่างกายปูทะเลตลอดทั้งปี ส่วนของร่างกายที่ถูกปรสิตเข้าเกาะหนาแน่นคือ พื้นที่บริเวณเหงือกด้านใน บริเวณเหงือกด้านนอก และช่องว่างต่างๆในลำตัว ผลการศึกษาในครั้งนี้ได้สร้างข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์สำหรับการใช้บริหารจัดการทรัพยากรปูทะเลและรวมถึงใช้ในการวิจัยต่อยอดเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการทรัพยากรชนิดนี้ในบริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
บทคัดย่อ (EN): Three species of Genus Scylla were found in Trat bay, Trat Province during the surveys between January-December 2008 viz., Scylla paramamosain (95%), S. olivacea (4%) and S. tranquebarica (1%). Samples were found randomly distributed in Trat bay and intensively abundance at the border of a mangrove forest. Growth pattern was found allometric in all three species. Growth parameter (K) of S. paramamosain was 0.78/yr. Maximum carapace width (ECW?) and maximum body weight (W?) were 166.56 mm and 692.25 g, respectively. For S. olivacea, its K-value was 0.99/yr and ECW? and W? were 130.71 mm and 393.86 g, respectively. Meanwhile, K-value of S. tranquebarica was 0.80/yr and ICW? and W? were 150.46 mm and 615.06 g, respectively. Stomach contents were dominated by fish, mollusks and crustaceans. All three mud crab species spawn all year round, which two peaks of spawning i.e. firstly during Febuary-June and secondly during July-November. A large amount of ripe ovary and GSI were observed during the 2nd peak than those in the 1st peak for S. olivacea and S. tranquebarica. Average fecundity of S. paramamosain, S. olivacea and S. tranquebarica was 2,092,938, 1,708,482 and 2,052,305 eggs/individual, respectively. Meanwhile, size at 50% maturity of S. paramamosain, S. olivacea and S. tranquebarica were 111.24, 99.9 and 111.71 mm, respectively. Octolasmis spp. was the major parasites, which found all year round. Height infection found at inner and outer of gill and in body cavity. Results of the study made a basic information that consequently useful for management Scylla resources in Trat Bay
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-04-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาชีววิทยาของประชากรปูทะเล Scylla sp.ในอ่าวตราด จังหวัดตราด
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
30 เมษายน 2552
การศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องมือลอบปูทะเลแบบพับได้ บริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพและการเกิดโรคปูทะเล (Scylla sp.) ที่เลี้ยงแบบแยกเดี่ยวในระบบหมุนเวียนน้ำ ชีววิทยาบางประการของปูทะเลชนิด Scylla serrata (Forskal, 1755) บริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช การศึกษาปริมาณและมูลค่าการนำเข้าส่งออกปูทะเล (Scylla serrata) ทางด่านตรวจสัตว์น้ำของประเทศไทย ระหว่าง ปี พ.ศ. 2556-2559 การศึกษาชีววิทยาการตั้งท้องและการให้ลูก เพื่อใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์แพะพื้นเมืองไทย เม็ดเลือดและกิจกรรมของฟีนอลออกซิเดสในวงจรการลอกคราบของปูทะเล การศึกษาชีววิทยาของกบนา (Rana tigerina) : ปัญหาและการพัฒนาการเลี้ยงกบนาในประเทศไทย : รายงานวิจัย แบบจำลองทางเศรษฐกิจ-ชีววิทยาเพื่อการจัดการประมงปลาทูบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันตก ชีววิทยาบางประการปูทะเล Scylla olivacea บริเวณชายฝั่งชุมชน บ้านบางสะเก้า จังหวัดจันทบุรี การประมงอวนครอบปลากะตักที่แจ้งเข้าออกเพื่อขึ้นสัตว์น้ำต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือ เข้าออกตราด ปี 2561

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก