สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาสถานการณ์สัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย
เกวลิน หนูฤทธิ์ - กรมประมง, กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสถานการณ์สัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): The Study of Situation of Important Fresh Water Aquatic Animals Economic in Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เกวลิน หนูฤทธิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kewalin Nooritthi
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุกัญญา พิมมาดี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Sukanya Pimmadee
คำสำคัญ: สัตว์น้ำจืด สถานการณ์ เศรษฐกิจ ประเทศไทย
คำสำคัญ (EN): Fresh Water Aquatic Animals, Situation, Economic, Thailand
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสถานการณ์สัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญของประทศไทย เกวลิน หนูฤทธิ์* สุกัญญา พิมมาดี กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง กรมประมง บทคัดย่อ การศึกษาสถานการณ์สัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการผลิต ราคา และการค้า (2) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงสัตว์น้ำจืด (3) ศึกษาปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหาการเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 10 ชนิด ได้แก่ ปลานิล ปลาดุก ปลาตะเพียน ปลาสลิด ปลาสวาย กุ้งก้ามกราม ปลาช่อน ปลาแรด กบ และปลาหมอ โดยรวบรวมสถิติที่เกี่ยวข้องในช่วงปี 2552-2561 และสำรวจต้นทุนและผลตอบแทนจากเกษตรกรในปี 2560-2562 จำนวน 190 ราย ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ ได้แก่ เชียงราย ปทุมธานี ยโสธร สมุทรสาคร นครสวรรค์ นครปฐม อ่างทอง อุทัยธานี นครนายก และสุพรรณบุรี ผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์ด้านผลผลิตสัตว์น้ำจืดในช่วงปี 2552-2561 ส่วนใหญ่มีอัตราการขยายตัวโดยเฉลี่ยต่อปีลดลง ได้แก่ ปลาสลิด ปลาช่อน และปลาสวาย ลดลงร้อยละ 7-13 ต่อปี รองลงมา คือ ปลาแรด และปลาตะเพียน ลดลงร้อยละ 4-6 ต่อปี ส่วนปลาหมอ กุ้งก้ามกราม และปลาดุก ลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 1-2 ต่อปี ขณะที่กบและปลานิลเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อปี ร้อยละ 31.60 และ 0.43 ตามลำดับ เนื่องจากภาครัฐมีการส่งเสริมการเลี้ยงกบในพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำน้อย รวมทั้งส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนราคาถูกสำหรับบริโภคภายในครัวเรือน เมื่อผลผลิตสัตว์น้ำจืดขยายตัวลดลง ส่งผลให้ราคาหน้าฟาร์มที่เกษตรกรจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อปี ร้อยละ 4-8 ได้แก่ กุ้งก้ามกราม กบ ปลาสลิด ปลาหมอ ปลาตะเพียน ปลาสวาย และปลาช่อน ขณะที่ปลาแรด ปลาดุก และปลานิล ขยายตัวลดลงเฉลี่ยต่อปี ร้อยละ 1-5 สำหรับผลผลิตสัตว์น้ำจืด พบว่า ส่วนใหญ่เป็นการบริโภคในประเทศเฉลี่ย ร้อยละ 94 และส่งออก ร้อยละ 6 โดยปริมาณการส่งออกสัตว์น้ำจืดทุกชนิดขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งชนิดสัตว์น้ำจืดที่มีศักยภาพสูงในการส่งออก ได้แก่ ปลานิล กุ้งก้ามกราม และปลาสวาย มีมูลค่าการส่งออกเฉลี่ยต่อปี 658 ล้านบาท 522 ล้านบาท และ 382 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนปริมาณการนำเข้าสัตว์น้ำจืดส่วนใหญ่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นปลาตะเพียน โดยสัตว์น้ำจืดที่มีการนำเข้าขยายตัวสูงสุดในช่วง 10 ปีท่าผ่านมา คือ ปลาช่อน เนื่องจากราคานำเข้าถูกกว่าราคาหน้าฟาร์มที่เกษตรกรจำหน่ายได้ อีกทั้งเนื้อปลาช่อนมีคุณภาพเป็นที่ต้องการของพ่อค้าไทย ต้นทุนการเลี้ยงสัตว์น้ำจืดโดยภาพรวมยังคงสูงขึ้นจากปัจจัยการผลิตด้านอาหารเม็ดสำเร็จรูป ซึ่งเป็นสัดส่วนมากที่สุดของต้นทุนการเลี้ยงทั้งหมด ขณะที่ราคาจำหน่ายสัตว์น้ำไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก สำหรับสัตว์น้ำจืดที่มีราคาลดลงในปี 2561 ได้แก่ ปลานิล ปลาดุก ปลาตะเพียน ปลาแรด กบ และปลาหมอ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ลดลง ภาครัฐจึงมีนโยบายระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่สัตว์น้ำจืดหลายชนิด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เช่น เพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ลดต้นทุนการเลี้ยง การรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตในราคาที่ถูก และขายผลผลิตสัตว์น้ำในราคาที่สูงขึ้น รวมกลุ่มแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า รวมถึงการเชื่อมโยงตลาด ร่วมวางแผนการผลิตให้สมดุลกับความต้องการของตลาด ตลอดจนเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำให้กับกลุ่มเกษตรกร ปัญหาอุปสรรคของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้แก่ (1) ปัญหาคุณภาพของลูกพันธุ์ต่ำ ทำให้มีอัตราการรอดต่ำและเลี้ยงไม่โต (2) ต้นทุนการเลี้ยงสูง (3) ขาดแหล่งเงินทุนหมุนเวียน (4) ผลผลิตมากเกินความต้องการของตลาดในบางฤดูกาลทำให้ราคาตกต่ำ (5) การนำเข้าสัตว์น้ำจืดที่มีราคาถูกเข้ามาจำหน่ายในประเทศ ส่งผลให้ราคาภายในประเทศตกต่ำ และ (6) ปัญหาจากภัยธรรมชาติ เช่น ภัยแล้ง อุทกภัย และสภาพอากาศแปรปรวน แนวทางแก้ไขปัญหาการเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจ ได้แก่ (1) พัฒนาสายพันธุ์สัตว์น้ำจืดที่ดีมีคุณภาพเพิ่มขึ้นทั้งชนิด ปริมาณ และขนาดลูกพันธุ์ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของเกษตรกร (2) จัดทำโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต การรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อผลิตสินค้า แปรรูป และจำหน่าย (3) สนับสนุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้แก่กลุ่มเกษตรกร (4) วางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด พัฒนาตลาดใหม่ และเพิ่มช่องทางการตลาดให้เกษตรกรมีแหล่งจำหน่ายผลผลิต (5) เข้มงวดเรื่องการนำเข้าสัตว์น้ำจืดจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีการตรวจสารตกค้างในสัตว์น้ำ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และ (6) ประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านสภาพอากาศ ปริมาณน้ำ และโรคระบาด คำสำคัญ: สัตว์น้ำจืด สถานการณ์ เศรษฐกิจ ประเทศไทย * ผู้รับผิดชอบ: กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง กรมประมง ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0 2561 3353 Email : kewalin999@gmail.com
บทคัดย่อ (EN): The Study of Situation of Important Fresh Water Aquatic Animals Economic in Thailand Kewalin Nooritthi* Sukanya Pimmadee Fisheries Development Policy and Planning Division, Department of Fisheries ABSTRACT The objectives of this study were 1) explore the situation of important fresh water aquatic animals economic in Thailand include production, price, and trade, 2) to analyze cost and return of fresh water aquatic animals culture, and 3) to find problem and problem solving of fresh water aquatic animals culture from 10 species, which were Nile tilapia, Walking catfish, Common silver barb, Snake skin gourami, Pangasius, Giant freshwater prawn, Striped snake-head fish, Giant gourami, Frog, and Common climbing perch. Data was collected from statistical data between 2009-2018 and survey data of costs and returns between 2017-2019 from 190 farmers in 10 provinces i.e., Chiang Rai, Pathum Thani, Yasothon, Samut Sakhon, Nakhon Sawan, Nakhon Pathom, Ang Thong, Uthai Thani, Nakhon Nayok and Suphanburi. The result found that the situation of fresh water aquatic animal production growth rate during 2009-2018 decreased, which Snake skin gourami, Striped snake-head fish, and Pangasius significantly decreased by 7-13 percent per year. Giant gourami and Common silver barb production growth rate decreased by 4-6 percent per year, Common climbing perch, Giant freshwater prawn, and Walking catfish slightly decreased by 1-2 percent per year. The production growth rate of Frogs and Nile tilapia increased by 31.60 and 0.43 percent, respectively. This due to the government had a program to promote raising frogs low water content area. Moreover, the government had a program to promoted raising Nail tilapia as a cheap source of protein for household consumption. As a result, the farm price of Giant freshwater prawn, Frog, Snake skin gourami, Common climbing perch, Common silver barb, Pangasius, and Striped snake-head fish increased by 4-8 percent per year, while Giant gourami, Walking catfish, and Nile tilapia, decreased by 1-5 percent per year. Most of the fresh water aquatic animals production on 94 percent were consumed domestically and 6 percent were exported. The high export potential fresh water aquatic animals were Nile tilapia, Giant freshwater prawn, and Pangasius. The average export value during the year 2009-2018 were 658 million baht, 522 million baht, and 382 million baht, respectively. Most import volume of 10 fresh water aquatic animals species increased except Common silver barb. During 2016-2018, the imported volume growth rate of Striped snake-head was the highest because import price was lower than Thai farmer’s farm prices, and good quality. Overall fresh water aquatic animal culture increased due to the price of feed, Which was the largest proportion of the total culturing cost, while the selling price did not much increase. In 2018, farmer income was low because the price of Nail tilapia, Walking catfish, Common silver barb, Giant gourami, Frog, and Common climbing perch was low. Therefore, the government had the policy to promote “Collaborative Farming”, aquaculture practices in fresh water aquatic animals to increase production efficiency, increasing the average yield per unit, reducing the cost of production, encouraging farmers to form groups or cooperatives to buy cheap inputs price, and sell their products at a higher price. Encourage a farmer group to increase the product value and having a market management plan and production according to the market demand. Problems and obstacles of fresh water aquatic animals farmer in Thailand were: (1) low fry quality with cause to survival rate; (2) high production costs; (3) lack of working fund; (4) high production supply in the market in some seasons, causing product price to fall; (5) low imported price caused domestic price decrease; and (6) natural disasters, such as drought, flooding and inclement weather. These problems could be solved by: (1) produced fresh water aquatic animals seed with quantity, and size to meet the needs of farmers; (2) established a “Collaborative Farming” project to reduce costs, increase productivity, construction for cooperative fish farmer manage the farm and sell products; (3) support low-interest rate funding for the farmer; (4) manage the fresh water aquatic animal production to balance market demand, develop new market and increase marketing channels for farmers to have a source of product distribution; (5) strictly control for imported fresh water aquatic animals from neighboring countries by checking the residues in fresh water aquatic animals; and (6) public relation in the topic of weather, water quantity, and epidemics. Key words: Fresh Water Aquatic Animals, Situation, Economic, Thailand *Corresponding author: Fisheries Development Policy and Planning Division, Department of Fisheries, Ladyao, Jatujak, Bangkok 10900 Tel. 0 2561 3353 Email: kewalin999@gmail.com
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ:
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: 1) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับมาตรฐานสินค้า 2) สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: รหัสทะเบียนวิจัย 63-3-1401-63008
ชื่อแหล่งทุน: ไม่มี
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: ไม่มี
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 0
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: http://file.fisheries.go.th/f/52b547cd96/?raw=1
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: เชียงราย ปทุมธานี ยโสธร สมุทรสาคร นครสวรรค์ นครปฐม อ่างทอง อุทัยธานี นครนายก และสุพรรณบุรี
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: มิถุนายน 2560-ธันวาคม 2562
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2560
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาสถานการณ์สัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย
กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2562
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
แนวคิดและผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมที่ สวทช. มีต่อประเทศไทย การศึกษาสถานการณ์การผลิตยางแผ่นของประเทศไทย ปี 2530 การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดลิ้นจี่ของประเทศไทย พ.ศ. 2533-2537 การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดทุเรียนของประเทศไทย พ.ศ. 2532-2536 ภาวะเศรษฐกิจกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและครอบครัวในประเทศไทย : รายงานเบื้องต้น การพัฒนายุทธศาสตร์สำหรับการปลูกยางพาราของประเทศไทยด้วยประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ การศึกษาสถานการณ์โลหะหนักในน้ำบริโภคในพื้นที่เสี่ยงต่อสารหนู ของประเทศไทย 2547 โครงการ การพัฒนายุทธศาสตร์สำหรับการปลูกยางพาราของประเทศไทยด้วยประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ การดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากโรครากขาวในยางพาราในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก