สืบค้นงานวิจัย
การวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะเศษวัสดุเหลือใช้ของกล้วยหิน และการใช้เสริมเป็นอาหารไก่พื้นเมือง
พิพัฒน์ ชนาเทพาพร, จันทร์จิรา โต๊ะขวัญแก้ว - มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะเศษวัสดุเหลือใช้ของกล้วยหิน และการใช้เสริมเป็นอาหารไก่พื้นเมือง
ชื่อเรื่อง (EN): Proximate Analysis of Musa sapientum (ABB group) wastes and Feed Supplementation in Native Chicken
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะเศษวัสดุเหลือใช้ของกล้วยหินและการใช้เสริมเป็นอาหารไก่พื้นเมือง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ส่วนประกอบโภชนะทางเคมีของเปลือกกล้วยหินบด ซึ่งผลจากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะ พบว่าเปลือกกล้วยหินบดถูกจัดอยู่ในประเภทอาหารฐานหรืออาหารหลัก ซึ่งมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ จากนั้นทำการศึกษาการใช้เปลือกกล้วยหินบดแห้งเสริมในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมือง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยสุ่มแบ่งลูกไก่พื้นเมืองแรกเกิดออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับอาหารสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียว ส่วนกลุ่มที่ 2, 3, 4, และกลุ่ม 5 ได้รับอาหารสำเร็จรูปและเสริมด้วยเปลือกกล้วยหินบดแห้ง 5, 10, 15 และ 20 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในแต่ละสัปดาห์ทำการเก็บข้อมูลน้ำหนักตัว และปริมาณอาหารที่กินของไก่พื้นเมืองเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยวิธี Least Significant Different (LSD) ผลการทดลองพบว่าค่าเฉลี่ยสมรรถภาพการผลิตไก่พื้นเมืองทั้ง 5 กลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ (P>0.05)
บทคัดย่อ (EN): proximate analysis of Musa (ABB group) wastes and feed supplementation in native chicken. The objectives of this study, to analyze the chemical nutrient content of grinded Musa peel (Group ABB). The results revealed that Musa peel (Group ABB) are classified in the basal feed or main feed that suitable for use as animal feed. Then, a study of grinded Musa peel (Group ABB) supplementation in feed on the production performance in native chicken. Five groups of grinded Musa peel supplementation in native chicken feed for 1 day of aged native chickens were imposed by Completely Randomized Designs; group 1; non grinded Musa peel supplement, group 2, 3, 4 and 5 were grinded Musa peel supplement in 5, 10, 15 and 20 percent, respectively. This experiment were collected bodyweight and feed intake for 12 weeks. All of data were analyzed with analysis of variance (ANOVA). Comparison of data between five groups of chickens was performed using by Least Significant Different, (LSD). The results showed that all of average production performances were not significantly different in 5 groups (P>0.05).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-11-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะเศษวัสดุเหลือใช้ของกล้วยหิน และการใช้เสริมเป็นอาหารไก่พื้นเมือง
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
30 กันยายน 2560
ใช้กากปาล์มน้ำมันจากโรงงานขนาดเล็กของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองเป็นอาหารสัตว์ 2)การใช้เป็นอาหารไก่พื้นเมืองลูกผสม อาหารกล้วย… กล้วย อาหารไก่พื้นเมือง การผลิตเอทธานอลจากวัสดุเหลือทิ้งจากกล้วย ผลของการใช้มันสำปะหลังต่อผลผลิตของไก่พื้นเมือง การใช้แหนใหญ่เลี้ยงไก่พื้นเมือง การส่งเสริมการผลิตและการใช้ประโยชน์จากกล้วยหินในจังหวัดเพชรบูรณ์ ค่าพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ของพืชอาหารสัตว์บางชนิดในไก่พื้นเมืองลูกผสม การศึกษาการผสมพันธุ์ไก่พื้นเมืองและใช้ตู้ฟักไข่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไก่พื้นเมือง ผลของการใช้ฟักทองหมักร่วมกับรำข้าวในอาหารต่อประสิทธิภาพการผลิต และคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมือง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก