สืบค้นงานวิจัย
การวิเคราะห์ศักยภาพด้านการตลาดและการผลิตของผู้ผลิตผักอินทรีย์ในกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านต้นเฮือด ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
กันตา ตันนิยม - มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ศักยภาพด้านการตลาดและการผลิตของผู้ผลิตผักอินทรีย์ในกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านต้นเฮือด ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): The Analysis of Potentiality in Marketing and Production of Organic Vegetables Supplier in Ban Ton Huat Organic Agriculture Group, Ban Wan Sub District, Hang Dong District, Chiang Mai Province.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กันตา ตันนิยม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พชรพร อากรสกุล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ศักยภาพทางด้านการตลาดและการผลิต และศึกษาถึงรูปแบบที่เหมาะสมของการพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดและการผลิตของผู้ผลิตผักอินทรีย์ในกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านต้นเฮือด ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนาในการศึกษาสภาพทั่วไป ใช้วิธีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT) ในการศึกษาศักยภาพทางด้านการตลาดและการผลิตของผู้ผลิตผักอินทรีย์ และใช้การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคร่วมกับกระบวนการวิเคราะห์ลำดับขั้นไฮรากี้ (SWOT-AHP) ในการศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของการพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดและการผลิต ผลการศึกษาสภาพทั่วไปพบว่าผู้ผลิตผักอินทรีย์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ในช่วง 60 ปีขึ้นไป มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา โดยสมาชิกส่วนใหญ่ปลูกผักอินทรีย์เป็นอาชีพรอง และมีอาชีพหลัก คือ รับจ้าง สาเหตุที่ปลูกผักอินทรีย์ คือ ต้องการปลูกไว้เพื่อรับประทานเองในครัวเรือน หากเหลือจากรับประทานจึงนำไปจัดจำหน่าย สำหรับการศึกษาศักยภาพด้านการตลาดและการผลิตนั้น พบว่า ในด้านการตลาดผู้ผลิตมีจุดแข็งที่สำคัญที่สุด คือ สามารถควบคุมสินค้าจากภายนอกไม่ให้เข้ามากลุ่มได้ จุดอ่อนที่มีความสำคัญที่สุด คือ สถานที่จัดจำหน่ายไม่ได้มาตรฐาน โอกาสที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ กระแสเรื่องสุขภาพกำลังเป็นที่นิยม และอุปสรรคที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ ไม่มีระบบรับรองมาตรฐานทางด้านการตลาด ในด้านการผลิต จุดแข็งที่มีความสำคัญที่สุด คือ ผักที่ผลิตได้จากกลุ่มเป็นผักที่มีคุณภาพและมีรสชาติดีกว่าผักทั่วไป อีกทั้งผู้ผลิตยังมีความรู้ทางด้านการทำปุ๋ยอินทรีย์และยาไล่แมลงจึงทำให้สามารถลดต้นทุนในการผลิตได้ สำหรับจุดอ่อนที่มีความสำคัญที่สุดนั้น คือ ผลผลิตผักที่กลุ่มผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของการตลาด ส่วนทางด้านโอกาสที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ มีหน่วยงานจากภาครัฐคอยให้การสนับสนุนผู้ผลิตผักอย่างสม่ำเสมอ และกระบวนการผลิตผักของกลุ่มได้ผ่านการสุ่มตรวจคุณภาพดินและความปลอดภัยของผักแล้วว่ามีความปลอดภัยจากหน่วยงานของรัฐ และอุปสรรคที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ พื้นที่ในการเพาะปลูกผักอินทรีย์ของสมาชิกแต่ละคนมีจำกัด ผลการศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของการพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดและการผลิต พบว่า ในด้านการตลาด รูปแบบการพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดที่ควรพัฒนาควรเน้นไปทางด้านการส่งเสริมให้มีสถานที่ในการจัดจำหน่ายที่มีความถาวรมากขึ้นและมีระบบรองรับมาตรฐานของผักอินทรีย์ที่จัดจำหน่ายโดยกลุ่ม และในด้านการผลิต รูปแบบในการพัฒนาศักยภาพทางด้านการผลิต ควรเริ่มจากส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกผักอินทรีย์กันมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านผักไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดและการที่มีพื้นที่ปลูกจำกัด
บทคัดย่อ (EN): This research has the objective for studying generality, potentiality in marketing and production and study about the proper format of the development in marketing and production’s potentiality of organic vegetables supplier in Ban Ton Huat organic agriculture group, Ban Wan sub district, Hang Dong district, Chiang Mai province by using the descriptive statistics in the study of generality, SWOT analysis in the study of potentiality in marketing and production of organic vegetables supplier and SWOT-AHP in the study of proper format of the development in marketing and production’s potentiality The study of generality found that most of suppliers are male who age more than 60 years old. They also got primary education and the organic vegetable farm is not a main career but their main jobs are employee. The reason of planting vegetables is for eating in individual household unit, the rest will be sold in their exclusive market. For the study of marketing and production’s potential found that in the marketing side suppliers have the most influent strength point as the capacity of protecting goods sold from outside market area. The most important in weak point is the distributional place is not standardized. The highest significant in opportunities group is that modern healthy eating habit has been spread in all country stream. And the biggest threat is that there is no certification of marketing. In the production side, the most essential strength is the better quality and taste of vegetables. Organic planters also have knowledge about producing their own natural fertilizer and insecticide which is really helpful for reducing production costs. The weakest point is insufficient vegetable productions compared to demand in the market. The major opportunity is, there is regularly production supporting from governmental institutions. And production processes have been randomly proved by governmental institution especially soil quality and vegetable security. Organic vegetables thus are safe to consume. The most significant threat is limited cultivating area. Proper format of development in marketing and production’s potentiality shows that in the marketing side, potential developing format that should be improved is to focus on supporting market area for selling vegetables to be more lasting and standardizing certificate system of organic vegetables sold in group. And in production side, the most influent potential developing format is to start encouraging cultivators to plant more organic vegetables for solving insufficient goods production in the market and increase cultivating area.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิเคราะห์ศักยภาพด้านการตลาดและการผลิตของผู้ผลิตผักอินทรีย์ในกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านต้นเฮือด ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดผักอินทรีย์โครงการหลวง โครงการย่อยที่ 2 การปรับปรุงพันธุ์ผักเพื่อระบบเกษตรอินทรีย์ การศึกษาฟังก์ชั่นการผลิต ศักยภาพ ประสิทธิภาพการผลิต และการตลาดพริกในจังหวัดสกลนคร ศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดยางของสถาบันเกษตรกร โครงการวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และการตลาดผักอินทรีย์โครงการหลวง ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดดอกเบญจมาศ โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาตลาดคู่แข่ง วิเคราะห์ศักยภาพในการผลิตเบญจมาศ ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของดอกกุหลาบ โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาตลาดคู่แข่ง วิเคราะห์ศักยภาพการผลิตกุหลาบ การศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดปลานิล ในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ การศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ การศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดสมุนไพรในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ กรณีศึกษาขมิ้นชันและไพล โครงการวิจัยศักยภาพการผลิตและการตลาดไม้ดอกโครงการหลวง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก