สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือและเทคโนโลยีการแปรรูปกาแฟ
พิมล วุฒิสินธ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือและเทคโนโลยีการแปรรูปกาแฟ
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Coffee Processing Technology for Farmer Group
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พิมล วุฒิสินธ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการนี้ได้ศึกษาและพัฒนาต้นแบบชุดเครื่องมือสำหรับกระบวนการแปรรูปสดกาแฟระดับกลุ่มเกษตรกร เพื่อผลิตเมล็ดกาแฟกะลาที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย 1) ชุดลอยน้ำคัดแยกผลกาแฟ เพื่อคัดแยกคุณภาพผลกาแฟก่อนทำการแปรรูป โดยคัดแยกผลกาแฟลอยน้ำออกไป ประกอบด้วย สกรูลำเลียงผลกาแฟเข้าเครื่องใช้ต้นกำลังมอเตอร์ไฟฟ้า 1 แรงม้า ถังลอยผลกาแฟทรงกรวยสำหรับแยกผลลอยและผลจม ตะแกรงสั่นใช้มอเตอร์แบบเขย่า 1 แรงม้า ทำหน้าที่แยกน้ำออกจากผลกาแฟและลำเลียงผลกาแฟออกจากเครื่อง กระบะบรรจุน้ำ และปั๊มหมุนเวียนน้ำขนาด 1 แรงม้า ความสามารถในการทำงาน 1500 - 2000 กิโลกรัม/ชั่วโมง 2) ต้นแบบเครื่องลอกเปลือกกาแฟผลสด เป็นการปรับปรุงพัฒนาเครื่องแบบลูกสีทรงกระบอกแนวนอนที่มีการผลิตและใช้ทั่วไป โดยออกแบบสร้างชุดควบคุมการสีแบบแผ่นยางนำมาประยุกต์ใช้แทนชุดขัดสีเดิมแบบเหล็กหล่อที่มีร่องสี 2 ช่อง ต้นกำลังใช้มอเตอร์ไฟฟ้า 1 แรงม้า ผลทดสอบพบว่าอัตราทำงานเพิ่มขึ้นจาก 846 กิโลกรัม/ชั่วโมง เป็น 1456 กิโลกรัม/ชั่วโมง เมล็ดแตกลดลงจาก 4.5% เหลือ 0.9% แต่เปอร์เซ็นต์การสีลดลงจาก 80.8% เหลือ 64.1% รวมทั้งมีเปลือกปนในเมล็ดกาแฟมากขึ้นจาก 3.8% เป็น 15.0% 3) ชุดตะแกรงคัดแยกเมล็ดกาแฟกะลา ใช้คัดแยกผลที่ลอกเปลือกไม่สมบูรณ์และเปลือกที่ปะปนมากับเมล็ดกาแฟกะลาเมือกออกก่อนนำเมล็ดกะลาเมือกไปกำจัดเมือก เป็นตะแกรงทรงกระบอกหมุนในแนวนอน ความสามารถในการทำงาน 1,200 กิโลกรัมผลสด/ชั่วโมง 4) ต้นแบบเครื่องขัดล้างเมือกกาแฟกะลาแบบแกนขัดหมุนในแนวตั้ง ที่ความเร็วรอบแกนขัดล้าง 580 รอบ/นาที มีความสามารถในการทำงาน 898 กิโลกรัม/ชั่วโมง เมล็ดกะลากาแฟแตกหลังการขัดล้าง 1.55% ใช้พลังงานไฟฟ้า 0.031 กิโลวัตต์/กิโลกรัม และปริมาณน้ำ 3 ลิตร/กิโลกรัม สามารถขัดล้างได้สะอาด และ 5) เครื่องอบแห้งกาแฟกะลาพร้อมเตาชีวมวล ได้ออกแบบสร้างชุดเตาเผาและชุดแลกเปลี่ยนความร้อนขึ้นมาให้เหมาะสมกับเครื่องอบแห้งกาแฟกะลา พบว่าเมื่อใช้กับเครื่องอบแห้งขนาด 800 กก. ใช้เวลา 20 ชม. ในการอบความชื้นจาก 48% ให้เหลือ14% ใช้ฟืน 300 กก. อัตราการใช้ฟืนประมาณ 15 กก./ชม. การทดสอบการใช้งานจริงในพื้นที่เป้าหมายโดยเกษตรกรเป็นผู้ใช้นั้นได้นำชุดเครื่องมือดังกล่าวข้างต้น ซึ่งจะมีความสามารถในการทำงานประมาณ 1,000 กิโลกรัมผลสดต่อชั่วโมง ไปติดตั้งที่วิสาหกิจชุมชนแปรรูปกาแฟ สวนยาหลวง บ้านสันเจริญ อ.ท่าวังผา จ.น่าน โดยนำมาประกอบและติดตั้งเข้ากับกระบวนการผลิตเดิมของทางกลุ่ม เนื่องจากพื้นที่รวมทั้งสาธารณูปโภคไม่อำนวย ต้นแบบเครื่องลอกเปลือกกาแฟมิได้นำมาติดตั้งในกระบวนการด้วย แต่ใช้เครื่องเดิมของกลุ่ม การทดสอบเก็บข้อมูลการใช้งานจริงโดยเกษตรกรเป็นผู้ใช้ประสบปัญหาการทดสอบในฤดูกาล มีการใช้งานบางส่วนเท่านั้น โดยเครื่องที่ไมได้ใช้งานและถูกนำออกไป คือ เครื่องลอยน้ำคัดแยกผลกาแฟ และเครื่องขัดล้างเมือกกาแฟกะลา เนื่องจากเกษตรกรเห็นว่าวิธีปฎิบัติเดิมในการลอยน้ำคัดผลกาแฟทำได้สะดวกอยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องในการคัดแยกผลกาแฟซึ่งมีความยุ่งยากและเสียแรงงาน ส่วนเครื่องขัดล้างเมือกกะลานั้นทางกลุ่มแจ้งว่าทำให้เมล็ดกาแฟกะลาแตกมาก ทั้งนี้สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะข้อจำกัดในการทำงานของเครื่องนี้ต้องมีอัตราการป้อนที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ เครื่องที่มีการใช้งานและมีความพึงพอใจคือ ชุดตะแกรงกลมคัดแยกเมล็ดกาแฟกะลา ทำให้ได้กาแฟกะลาที่สะอาด และเครื่องอบแห้งกาแฟกะลาพร้อมเตาชีวมวลกำเนิดลมร้อนมีการใช้งานบ้างเป็นครั้งคราวควบคู่ไปกับการตากลาน
บทคัดย่อ (EN): Several prototypes for coffee wet (full-wash) processing were developed and tested their performance as follows. 1) Float separator; to separate float cherry prior to pulping. It consisted of screw conveyor, conical-shaped floating tank, vibrating sieve with 1-hp motor, water reservoir and 1-hp water recirculaing pump. 2) Pulper; replacing an original 2 channel iron breast of a typical horizontal cylinder pulper driven by 1 hp motor with a modified rubber breast could increase capacity from 846 kg/h to 1456 kg/h. and lower broken bean from 4.5% down to 0.9%. But pulping efficiency was decreased from 80.8% to 64.1% and also mucilage parchment contained 15% unseparated skin rather high instead of 3.8%. 3) Rotary screen separator; used to separate incomplete pulped fruit and skin out of mucilage parchment. It was driven by 1-hp motor and had 1200 kg/h in capacity. 4) Mucilage removing machine; vertical upward-flow type and driven by 3-hp motor. Test result found that optimum speed of rotating shaft was 580 rpm, producing a capacity of 898 kg/h with 1.55 % broken and require 3 litres of water per kg of coffee. 5) Rotary dryer with biomass furnace and heat exchanger; 800 kg holding capacity. Drying time was 20 h to reduce moisture from 48% w.b. to 14% w.b. and consumed 15 kg/h of fire wood. These machines were transfered to setup a 1000 kg/h capacity wet processing line for farmer group and used at processing plant of the Suanyaluang coffee processing community enterprise in Nan province. Owing to unavailable space and infrastructure, the machines were installed by placing into the plant processing line which originally was semi-wash process to perform full-wash process. In addition the modified pulper was not used owing to limited space. Objective of this study was to test its performance which operated by farmer and as well as to transfer technology to farmer. Unexpected result, test data collecting during season could not be accomplished, only some machine was operated. The float separator and the mucilage removing machine were not used and removed. Farmer explained that cherry floating by custom practice was more convenient and the mucilage removing machine produced excess broken parchment. Also the machines were hindered working area and needed labor to operate. Farmer was satisfied with the rotary screen separator running all the season to produce clean parchment coffee. The dryer was also operated occasionally along with sun drying.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือและเทคโนโลยีการแปรรูปกาแฟ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2557
การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดคั่ว โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตฝรั่ง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตบัวบก โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกลอย โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตองุ่น โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริก โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสละ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก