สืบค้นงานวิจัย
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อมและเสถียรภาพของผลผลิตในถั่วฝักยาว
ปราโมทย์ พรสุริยา - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อมและเสถียรภาพของผลผลิตในถั่วฝักยาว
ชื่อเรื่อง (EN): Genotype by environment interaction and yield stability in yard long bean
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปราโมทย์ พรสุริยา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pramote Pornsuriya
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อมและเสถียรภาพของ ผลผลิตของถั่วฝักยาว 10 จีโนไทป์ (สายพันธุ์/พันธุ์) ภายใต้ 6 สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยในแต่ละสภาพแวดล้อม ปลูกในแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) ทำ 2 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.01) ของจีโนไทป์ สภาพแวดล้อม และปฏิสัมพันธ์ของจีโนไทป์กับสภาพแวดล้อม จากการวิเคราะห์เสถียรภาพของ ผลผลิตตามวิธีการ Eberhart and Russell model พบว่าปฏิสัมพันธ์ของจีโนไทป์กับสภาพแวดล้อมมีทั้งส่วนที่เป็นแบบ เส้นตรง (linear) และไม่เป็นแบบเส้นตรง (non-linear) ที่มีอิทธิพลต่อเสถียรภาพของผลผลิต (P < 0.05) เมื่อพิจารณาจาก ค่า phenotypic index (Pi ) ค่าสัมประสิทธิ์รีเกรสชั่น (bi ) และค่าเบี่ยงเบนจากรีเกรสชั่น (S2di ) พบว่าสายพันธุ์ 303-1-L2 และ บางพระ2 จัดว่าเป็นจีโนไทป์ที่มีเสถียรภาพของผลผลิต เนื่องจากมีค่า phenotypic index เป็นบวก ค่าสัมประสิทธิ์ รีเกรสชั่นไม่ต่างจาก 1 และค่าเบี่ยงเบนจากรีเกรสชั่นเท่ากับ 0 ในขณะที่สายพันธุ์บางพระ 1 ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์รีเกรสชั่น มากกว่า 1 (P < 0.05) และไม่มีนัยสำคัญของค่าเบี่ยงเบนจากรีเกรสชั่น (S2di = 0) จึงเป็นสายพันธุ์ที่ตอบสนองได้ไวต่อการ เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและเหมาะสมสำหรับการปลูกในสภาพแวดล้อมที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง
บทคัดย่อ (EN): The purpose of the study was to determine genotype-environment interaction and yield stability of 10 yard long bean genotypes (lines/cultivars) under 6 diverse environments. A randomized complete block design (RCBD) with 2 replications was used for each environment. Significant differences (P < 0.01) were observed for genotypes, environments and genotype-environment interaction. Stability analysis after Eberhart and Russell’s model suggested that both linear and non-linear components were significant (P < 0.05) for determining the yield stability. Based on phenotypic index (Pi ), regression coefficient (bi ) and deviation from regression ( S2di), Lines 303-1-L2 and Bangpra2 were identified as stable for yield since they gave positive phenotypic index (Pi > 0), regression coefficient around unity (bi = 1), and deviation from regression value around zero ( = 0). Genotype Bangpra1 had the bi value significantly greater than 1 with non-significant S2di value; so this line was highly responsive to environmental fluctuation and suitable for highly favorable environment.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P160 Hor49.pdf&id=3203&keeptrack=1
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อมและเสถียรภาพของผลผลิตในถั่วฝักยาว
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2561
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ค่าอัตราพันธุกรรมและค่าการผสมพันธุ์สำหรับการให้ผลผลิตน้ำนมของกระบือนมที่เลี้ยงภายใต้สภาพแวดล้อมของประเทศไทย แนวทางการตัดสินใจการผลิตและจำหน่ายลำไยอย่างเหมาะสมภายใต้ความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมและตลาด บริการออกแบบ ผลิต และทดสอบ วัสดุรองนอนและสิ่งเพิ่มพูนสภาพแวดล้อมของสัตว์ฟันแทะขนาดเล็กด้วยเส้นใยธรรมชาติจากกาบกล้วย รูปแบบของระบบบันทึกเหตุการณ์ในสภาพแวดล้อมของการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ การฟื้นฟูต้นยางนาในเขตเทศบาลตำบลยางเนิ้งเพื่อการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืน ศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาและดูแลรักษาพืชสมุนไพรในสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาแบบใหม่ ผลของปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการผิดปกติทางสรีรวิทยาและคุณภาพของผลมะม่วงน้ำดอกไม้ใน อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ระบบสมองกลฝังตัวตรวจวัดสภาพแวดล้อมสำหรับฟาร์มอัจฉริยะ ความหลากหลายทางพันธุกรรมและจำแนกกลุ่มพันธุกรรมไก่พื้นเมืองในจังหวัดน่านด้วยไมโครแซทเทิลไลท์ การศึกษาลักษณะทางสรีระวิทยาประจำพันธุ์ ของข้าวสาลีที่ปลูกภายใต้สภาพแวดล้อมภาคเหนือตอนบน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก