สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มศักยภาพการผลิตปลาดุกลำพันเพื่อการอนุรักษ์และการเพาะเลี้ยง เชิงพาณิชย์
แจ่มจันทร์ เพชรศิริ, อรุณรัศมิ์ วณิชชานนท์, อุทัยรัตน์ ณ นคร, กฤษณะ เรืองคล้าย, นพดล ศุกระกาญจน์, สุภฎา คีรีรัฐนิคม, พันธสิทธิ์ โชคสวัสดิกร - มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มศักยภาพการผลิตปลาดุกลำพันเพื่อการอนุรักษ์และการเพาะเลี้ยง เชิงพาณิชย์
ชื่อเรื่อง (EN): Enhancement of Nieuhofii Catfish (Clarias nieuhofii) Potential Production for Conservation and Commercial Culture
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของการเสริมบีตากลูแคนซึ่งสกัดจากผนังเซลล์ยีสต์ในอาหาร ต่อการตอบสนองด้านภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila ในปลาดุกลำพัน (Clarias nieuhofii) โดยให้อาหารผสมบีตากลูแคนในระดับต่างๆ ประกอบด้วย 0, 250, 500 และ 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหาร (ppm) เป็นเวลา 12 สัปดาห์ แล้วเก็บ ตัวอย่างเลือดปลาทุกๆ 4 สัปดาห์ นำไปวิเคราะห์กิจกรรมของเซลล์เม็ดเลือดขาวในการจับกินสิ่ง แปลกปลอม (phagocytic activity) โดยวิธี Nitroblue tetrazolium (NBT) reduction, ความสามารถใน การทำลายเซลล์แปลกปลอมของโปรตีนบางชนิดในน้ำเลือด ได้แก่ กิจกรรมของเอนไซม์ไลโซไซม์ (lysozyme activity) และคอมพลีเมนต์ (Natural haemolytic complement activity) หลังจากให้อาหาร ผสมบีตากลูแคนจนครบ 12 สัปดาห์ นำปลาทดลองมาทดสอบความต้านทานโรค โดยชักนำให้ติดเชื้อ แบคทีเรีย Aeromonas hydrophila แล้วบันทึกอัตราการตายสะสมของปลาทดลองภายใน 7 วัน ผล การศึกษาพบว่า การให้อาหารผสมบีตากลูแคนที่ระดับ 250, 500 และ 1,000 ppm ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ มีผลในการกระตุ้น phagocytic activity, lysozyme activity และ natural haemolytic complement activity ของปลาดุกลำพัน โดยระดับของค่าปัจจัยทางภูมิคุ้มกันที่เพิ่มขึ้นจะสัมพันธ์กับ ระดับของบีตากลูแคน และปลาดุกลำพันที่ได้รับอาหารผสมบีตากลูแคนอย่างน้อย 250 ppm เป็นเวลา 12 สัปดาห์ จะมีความต้านทานต่อการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila โดยสรุปการเสริมบีตากลูแคนใน อาหารที่ระดับ 250 ppm มีผลในการกระตุ้นการตอบสนองทางด้านภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ และความ ต้านทานต่อโรคติดเชื้อ Aeromonas hydrophila ของปลาดุกลำพัน ผลจากการศึกษานี้จะเป็นข้อมูล พื้นฐานด้านการจัดการสุขภาพในการนำไปประยุกต์เพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาดุกลำพันในอนาคต
บทคัดย่อ (EN): The present experiment was carried out to study the effect of dietary supplementation of commercial ?-glucan derived from yeast cell wall on non-specific immune responses and protection against Aeromonas hydrophila of Slender walking catfish (Clarias nieuhofii). Four different diets with 0, 250, 500 or 1,000 mg/kg feed (ppm) of ?-glucan were fed to Slender walking catfish for 12 weeks. Phagocytic activity (NBT reduction), lysozyme activity and natural haemolytic complement activity in the fish were evaluated at 4 week intervals. After 12 weeks of feeding, fish were challenged with Aeromomas hydrophila. Cumulative mortality (%) was recorded on the 7th day after challenge. The results of 12 weeks feeding trial showed that phagocytic activity (NBT reduction), lysozyme activity and natural haemolytic complement activity in fish fed the diet with 250, 500 and 1,000 ppm glucan were significantly higher than those in fish fed with the control diet. All immunological parameters were increased with the increase of dietary glucan. The challenge experiment showed that fish fed the diet with at least 250 ppm glucan had significantly lower cumulative mortality compared with the control. These results suggest that administration of 250 ppm of ?-glucan in the diet can be used to enhance non-specific immune responses and improve resistance of Slender walking catfish to Aeromonas hydrophila. The results of this research provide a contribution to the basic knowledge for health management in future aquaculture research of this fish species.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มศักยภาพการผลิตปลาดุกลำพันเพื่อการอนุรักษ์และการเพาะเลี้ยง เชิงพาณิชย์
มหาวิทยาลัยทักษิณ
30 กันยายน 2554
การพัฒนาการเพาะเลี้ยงม้าน้ำเพื่อการอนุรักษ์ ศักยภาพการผลิตปลาสวยงามเพื่อการส่งออกในจังหวัดราชบุรี การพัฒนาการเพาะเลี้ยงหอยมุกน้ำจืดและการผลิตไข่มุกน้ำจืดเพื่อการพาณิชย์ วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานวลจันทร์น้ำจืด การศึกษาอาหารที่ใช้ในการอนุบาลลูกปลาดุกลำพัน (Clarias nieuhofii) ระยะแรกฟักออกจากไข่ และระยะปลานิ้ว ผลของคาร์โบไฮเดรตจากแหล่งต่างๆ ต่อการเจริญเติบโต อัตราแลกเนื้อ ประสิทธิภาพการใช้อาหาร และการรอดตายของปลาดุกลำพัน (Clarias nieuhofii) ระยะปลานิ้ว โครงการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว การเพาะพันธ์ปูแสมเพื่อการอนุรักษ์ และศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงคุณภาพดินในพื้นที่ป่าชายเลน จังหวัดสมุทรสงคราม การพัฒนาระบบน้ำหมุนเวียนสำหรับการเลี้ยงปลาดุกลูกผสม (Clarias macrocephalus X C. gariepinus) การเพาะและอนุบาลปลาดุกลำพันในสภาพน้ำพรุ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก