บทคัดย่อ: |
ในช่วงฤดูแล้งน้ำในอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทานต้องประสบกับปัญหาน้ำเสีย เนื่องจากการ
เกิดสาหร่ายบลูม (Algae Bloom) คือ มีการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วของแพลงก์ตอนมาจาก
ธาตุอาหารในแหล่งน้ำมากเกิน จนเกิดสภาวะยูโทรฟิเคชั่น (Eutrophication) เมื่อสาหร่ายเซลแก่ตายลง
จะถูกจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย จึงทำให้ในแหล่งน้ำมีปริมาณออกซิเจนในน้ำลดต่ำลง จึง
ต้องทำการศึกษาหาวิธีการแก้ปัญหาสาหร่ายบลูม (Algae Bloom) ด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพและ
ปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม ได้คัดเลือกอ่างเก็บน้ำทับเสลา โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาทับเสลา จ.
อุทัยธานี ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำที่มีอายุการใช้งาน มากกว่า 30 ปี มีการสะสมของธาตุอาหารในการ
เจริญเติบโตของสาหร่ายมาก ซึ่งมีการเกิดสาหร่ายบลูมตลอดทั้งปี และโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง
รัชชโลทร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ชลบุรี เป็นอ่างเก็บน้ำแห่งใหม่ที่เพิ่งก่อสร้างเสร็จ แต่มีธาตุอาหาร
ในแหล่งน้ำมาก ทำให้เกิดสาหร่ายบลูมในช่วงฤดูแล้งที่มีปริมาณน้ำน้อย จึงได้ใช้อ่างเก็บน้ำทั้ง 2 แห่งนี
เป็นพื้นที่ทดลองในการศึกษาวิจัยครั้งนี้
การใช้ชีวมวลของวัชพืชร้ายแรงร่วมกับจุลินทรีย์ เพื่อแก้ปัญหาสาหร่ายบลูม (Algae Bloom)
ในแหล่งน้ำชลประทาน โดยใช้ชีวมวลของวัชพืชร้ายแรง 5 ชนิด ได้แก่ ผักตบชวา (Eichhornia
crassipes) ผักกระเฉด (Neptunia olerlacea) ดีปลีน้ำ (Potamogeton malaianus) ธูปฤาษี (Typha
angustifolia) และจอกหูหนูยักษ์ (Salvinia molesta) ร่วมกับจุลินทรีย์ และแป้งมันสำปะหลัง ผลิตเป็น
รูปทรงกลม (Weed ball) นำไปทดสอบประสิทธิภาพเปรียบเทียบกับ EM. Ball ส้าเร็จรูป ที่มีผลต่อแพลงก์
ตอนพืช โดยการนับจำนวน (unit/l) จำแนกชนิด และวิเคราะห์หาปริมาณคลอโรฟิลด์ เอ (μg/l) ภายใน
สภาพเรือนทดลอง ที่ระยะเวลา 1, 3, 5, 7 และ 9 วันตามลำดับ พบว่า ที่ระยะเวลา 9 วัน ชุด EM.
Ball สำเร็จรูปไม่สามารถลดแพลงก์ตอนพืช รวมได้ แต่ทำให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น Weed ball
ผักตบชวา สามารถลดแพลงก์ตอนพืชในน้ำได้ดีที่สุด โดยเฉพาะชนิด Microcystis aeruginosa ลดลง
82.81% และ Oscillatoria limnetica ลดลง 100% และไม่ทำให้คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลง นำ Weed ball
ผักตบชวา ผักกระเฉด ธูปฤาษี และจอกหูหนูยักษ์ ทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับน้ำหมักจุลินทรีย์
และสารคอปเปอร์ซัลเฟต (CuSO4) ที่มีผลต่อแพลงก์ตอนพืชในน้ำ ขนาดแปลง 2 x 2 ตร.ม. ความลึก
ประมาณ 50 ซม. โดยวิเคราะห์หาปริมาณ Chlorophyll a (μg/l) บริเวณอ่างเก็บน้ำทับเสลา โครงส่ง
น้ำและบำรุงรักษาทับเสลา จ.อุทัยธานี ภายหลังการทดสอบ ที่ระยะเวลา 1, 5, 10, 15 และ 20 วัน
ตามลำดับ พบว่าที่ระยะเวลา 5 วัน Weed ball ผักตบชวาสามารถลดแพลงก์ตอนพืชในน้ำได้ดี 0.00e
และคุณภาพน้ำไม่เปลี่ยนแปลง ที่ระยะเวลา 10 วัน ผลการวิเคราะห์หาปริมาณไนโตรเจน (N) และ
ปริมาณฟอสฟอรัส (P) ในน้าแตกต่างจากชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ มีปริมาณลดน้อยลง นำ Weed
ball ผักตบชวาทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับน้ำหมักจุลินทรีย์ และสารคอปเปอร์ซัลเฟต
(CuSO4) ที่มีผลต่อแพลงก์ตอนพืชในน้ำ บริเวณโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร อัน
เนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ชลบุรี โดยให้แปลงทดสอบมี ขนาด 2 x 2 ตร.ม. ความลึกเพิ่มขึ นเป็น 1 เมตร
ภายหลังการทดสอบ ที่ระยะเวลา 1, 5, 10, 15, 20, 25 และ 30 วันตามลำดับ พบว่า ชุด Weed ball
ผักตบชวา 100 ลูก (โปรย) และ 100 ลูก (ถุง) น้าหนัก 1 ลูก/12 กรัม สามารถลดแพลงก์ตอนพืชในน้ำ
ได้ไม่แตกต่างกันและไม่มีผลกระทบต่อแหล่งน้ำ คุณภาพน้ำไม่เปลี่ยนแปลง ผลการวิเคราะห์หา
ปริมาณไนโตรเจน (N) และปริมาณฟอสฟอรัส (P) ในน้ำแตกต่างจากชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ มี
ปริมาณลดน้อยลง จากการศึกษาหาชนิดของจุลินทรีย์ใน Weed ball ผักตบชวาพบว่าที่ระยะเวลา
30 วัน ผลการจำแนกจุลินทรีย์ (Identification) ด้วยวิธี 16S rDNA sequencing พบว่ามี 5 ชนิด ได้แก่
Oliverbacter oleidegradans , Enterobacter xiangfangensis , Klebsiella sp. ,
Lysinibacillus halotolerans และ Enterococcus sp. ซึ่ง Oliverbacter oleidegradans เป็น
จุลินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายพวกสารที่มีส่วนประกอบของไฮโดรคาร์บอนได้ดี เช่น พวกน้ำมัน สารกำจัด
แมลง สารกำจัดวัชพืชและเป็นตัวช่วยลดแรงตรึงผิว เป็นต้น ส่วนจุลินทรีย์ชนิดอื่นที่พบส่วนใหญ่ก็พบ
ทั่วไปที่อยู่ในดินและในแหล่งน้ำ จากการทดสอบประสิทธิภาพ Weed ball ผักตบชวาสามารถลด
แพลงก์ตอนพืชในน้ำได้ดี และทำให้ปริมาณไนโตรเจน (N) และปริมาณฟอสฟอรัส (P) ในน้ำลดลง
อาจจะมาจากจุลินทรีย์ทั้งหมดนี้ ไปช่วยย่อยชีวมวลของผักตบชวา แล้วปลดปล่อยสารบางชนิดออกมา
ซึ่งสารนี้ อาจจะไปยับยั้งการสร้างเซลใหม่ของแพลงก์ตอนพืช ไม่ให้มีการเกิดขึ้นมาใหม่เซลเก่าจะแก่ตาย
ไปจึงท้าให้ลดปริมาณลง หรือกลุ่มจุลินทรีย์ทั้งหมดนี้ หรือชนิดใดชนิดหนึ่งไปทำให้ธาตุอาหาร (N,P) ใน
แหล่งน้ำลดลงส่งผลให้แพลงก์ตอนพืชไม่เจริญเติบโตไม่มีการสร้างเซลใหม่เกิดขึ้นปริมาณแพลงก์ตอนพืช
จึงลดลง
ดังนั้น จากการศึกษาวิจัยนี้ การใช้ชีวมวลวัชพืชจากผักตบชวาร่วมกับจุลินทรีย์ผลิตเป็น Weed
ball แก้ปัญหาการเกิดน้ำเน่าเสียจากสาหร่ายบลูม (Algae Bloom) ในแหล่งน้ำ ที่มีปริมาณแพลงก์ตอน
พืชจำนวนหนาแน่นมาก ใช้ Weed ball ผักตบชวา จำนวนไม่เกิน 100 ลูก/พื นที่ 4 ตร.ม. (1 ลูก หนัก
12 ก รัม ) ใน ก ร ณ ีที่มีความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชสูง ถ้ามีความหนาแน่นของ
แพลงก์ตอนต่ำก็อาจจะต้องลดจำนวนลูกที่ใช้ลงได้ เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่าย ใช้ชีวมวล
ผักตบชวา 1 กก. สามารถผลิตเป็น Weed ball ที่มีขนาดน้ำหนักประมาณลูกละ 12 กรัม ได้
ประมาณ 70 ลูก ต้นทุนการผลิตประมาณ 1 บาท/5 ลูก จึงน่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะนำมาใช้
นอกจากจะแก้ปัญหาสาหร่ายบลูมแล้วยังเป็นการช่วยควบคุมกำจัดผักตบชวาด้วยการนำไปใช้ให้เกิด
ประโยชน์อีกด้วย |