สืบค้นงานวิจัย
การควบคุมเชื้อ Ralstonia solanacearum (Smith) Yabuuchi et al. สาเหตุโรคเหี่ยวของมันฝรั่ง โดยเชื้อ Bacillus subtilis Ehrenberg
วงศ์ บุญสืบสกุล - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การควบคุมเชื้อ Ralstonia solanacearum (Smith) Yabuuchi et al. สาเหตุโรคเหี่ยวของมันฝรั่ง โดยเชื้อ Bacillus subtilis Ehrenberg
ชื่อเรื่อง (EN): Controlling of Ralstonia solanacearum (Smith) Yabuuchi et al., a Causal
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วงศ์ บุญสืบสกุล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Wong Boonsuebsakul
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ดำเนินการเก็บตัวอย่างดินและรากบริเวณ rhizoplane ของพืชที่ไม่แสดงอาการโรคสภาพสมบูรณ์แข็งแรง ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคเหี่ยวจากเชื้อ Ralstonia solanacearum (Rs) ของมันฝรั่ง พริก มะเขือเทศ มะเขือยาวและขิง 104 ตัวอย่างจาก 18 จังหวัด แยกเชื้อแบคทีเรียที่มีศักยภาพเป็นเชื้อปฏิปักษ์ต่อโรคดังกล่าว ด้วยอาหาร King’s B เก็บเชื้อแบคทีเรียบริสุทธิ์ได้จำนวน 319 ไอโซเลท นำเชื้อแบคทีเรีย ดังกล่าวทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญของเชื้อ Rs โดยการทดสอบแบบ direct bioassay ด้วย วิธี Disc Diffusion และ Double Layer Culture พบเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ 15 ไอโซเลท โดยแสดงคุณสมบัติยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคดังกล่าวได้ดี มีขนาด 4-20.75 มล. จากการทดสอบเชื้อมีชีวิต และ 6.25-25.00 มล. จากการใช้อาหารกรองของเชื้อ เลือกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ดังกล่าวที่มีประสิทธิภาพสูงจำนวน 5 ไอโซเลท ทดสอบความสามารถการควบคุมโรคเหี่ยวของมะเขือเทศในโรงเรือนปลูกพืชทดลองในสภาพก่อนและหลังการเป็นโรค โดยก่อนปลูกแช่รากถึงโคนต้นของต้นกล้ามะเขือเทศด้วย สารละลายเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์อัตราความเข้มข้น 109 หน่วยโคโลนี/มล. นาน 2-3 นาที แล้วราดด้วยสารละลายเชื้อเดียวกันอัตราความเข้มข้น 106 หน่วยโคโลนี/มล. ปริมาตร 10 มล./กระถาง 4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน พบว่าเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้ง 5 ไอโซเลท สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ แต่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ถ้าเชื้อเข้าทำลายพืชนั้นแล้ว พบว่าเปอร์เซ็นต์การเป็นโรคของกรรมวิธีใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ก่อนที่พืชจะเป็นโรคแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากกรรมวิธีเปรียบเทียบ สามารถควบคุมและลดการเกิดโรคเหี่ยวของมะเขือเทศได้ 23.4 ถึง 80.0% การตรวจสอบปริมาณเชื้อ Rs ในดินบริเวณรากมะเขือเทศพบว่าทุกกรรมวิธีของเชื้อปฏิปักษ์มีประชากรเชื้อสาเหตุโรคลดลง ทดสอบการควบคุมโรคเหี่ยวของมันฝรั่งในสภาพแปลง ทดลองโดยการคลุกหัวพันธุ์มันฝรั่งก่อนปลูก ด้วยสารละลายเชื้ออัตราเดียวกับที่ใช้ในสภาพเรือนปลูกพืชทดลอง และราด้วยสารละลายเชื้ออัตราเดียวกันปริมาตร 10 มล./หลุม 4 ครั้ง แต่ละห่างกัน 7 วัน พบว่าทุกกรรมวิธีของการใช้เชื้อปฏิปักษ์สามารถควบคุมและลดการเกิดโรคเหี่ยวของมันฝรั่งได้ 15.8 ถึง 44.9% และมีเปอร์เซ็นต์การเป็นโรคต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อนำเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ดังกล่าวทดสอบในสภาพแปลงเกษตรกรที่มีการระบาดของโรค พบว่าสามารถควบคุมการเกิดโรคดังกล่าวได้ 66.6 – 85.6% ให้ผลผลิตสูงกว่ากรรมวิธีเปรียบเทียบการทดสอบในสภาพแปลงที่ไม่มีการระบาดของโรค พบว่าการใช้เชื้อปฏิปักษ์สามารถให้ผลผลิตสูงกว่ากรรมวิธีเปรียบเทียบเช่นกัน การจำแนกชนิด (species) โดยวิธี Thin-layer chromatog-raphy พบว่าเชื้อปฏิปักษ์ทั้ง 5 ไอโซเลท เป็นเชื้อ Bacillus subtilis เชื้อปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพควบคุมโรคเหี่ยวในมันฝรั่งได้ดีกว่าเชื้ออื่น ๆ คือ DOA.WB 4 (Department of Agriculture, Wong Boonsuebsakul)
บทคัดย่อ (EN): Collection of the potential antagonistic bacteria against Ralstonia solanacearum (Rs) casual bacterial with disease from soil, and root (rhizoplanes) were made from eighteen provinces. The samples of the former material were taken form non disease plant in disease severity infection of several crops area namely potato, tomato pepper, eggplant and ginger. Three hundred nineteen bacterias were isolated by general King-B medium and had been screening for growth inhibition property against R. solanacearum by direct bioassay method. Using disc diffusion method tested to search the antagonistic bacteria form the potential antagonistic bacteria culture suspension and its culture filtrate with double layer culture of R. solanacearum on PSA (Wakimoto’s potato semi synthetic agar) 1.5 and 0.5% agar. The results showed that fifteen isolates antagonized on R. solanacearum, inhibited with strongly clear zone 4-20.75 mm by its culture and 6.25-25.00 mm by culture filtrated. The five higher clear zones were tested for biocontrol microorganism agent for this disease on young tomato plant under green house condition. The results were found that five isolates could pre-diseased control the bacterial with disease of tomato in green house condition at range 23.4 – 80% but could not control on post diseased condition. These 5 antagonists were effective in field condition and the striking outcomes were obtained at Tak Horticulture Research Station in the northern of Thailand on which the field had been heavily infected during 2003 – 2004. In this biological control, the potato was dressed with the suspension of the antagonists at the concentration of 109 cfu/ml before planting and drenched (106 cfu/ml) every 7 days for four times. The result showed that these antagonists controlled significantly the bacterial wilt disease at 15.8 – 44.9%. The same trials were also conducted at bigger areas (farm trial) in 2 locations at Chaing Mai and Kanchanaburi provinces during 2004-2005. The result showed that these antagonists are strikingly effective control at 66.6 – 85.6% of this notorious wilt disease. Furthermore, the treatment with the antagonists promoted well the potato yields in non-disease condition trial higher than control treatment. A novel method which was invented for rapid identification of bacteria by using TLC with amino lipids was successfully applied for the identification of these antagonistic bacteria. The 5 antagonists were identified as Bacillus subtilis which the common spot at Rf. 0.36 existed on their TLC chromatogram. DOA.WB4 was shown higher performance of biocontrol agent for potato bacterial with than others.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การควบคุมเชื้อ Ralstonia solanacearum (Smith) Yabuuchi et al. สาเหตุโรคเหี่ยวของมันฝรั่ง โดยเชื้อ Bacillus subtilis Ehrenberg
กรมวิชาการเกษตร
2549
เอกสารแนบ 1
การปรับปรุงพันธุ์พริกเพื่อต้านทานต่อโรคเหี่ยวเนื่องจากเชื้อ Phytophthora การประเมินประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อควบคุมเชื้อ Sclerotium rolfsii และ Fusarium oxysporum f. sp. lycopersici สาเหตุโรคทางดินของมะเขือเทศ GLIFT Kit เพื่อการตรวจสอบเชื้อ Potato Virus Y ในมันฝรั่ง ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์บริเวณรอบรากผักกระเฉด ที่ผลิตสารทุติยภูมิเพื่อยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน การควบคุมเชื้อสาเหตุโรคข้าวในสภาพไร่ โดยแบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ NSRS 89-24 และ NSRS 89-26 การใช้ผงเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis ร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการควบคุมโรคเมล็ดด่างของข้าว การควบคุมโรคไหม้ของข้าวด้วยผงเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus megaterium สายพันธุ์ No.16 ในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าวพันธุ์ กข6 การใช้ผงเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคเมล็ดด่างในข้าว การควบคุมโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อ Colletotrichum sp. และปลวกที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อต้นยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก