สืบค้นงานวิจัย
การสำรวจศักยภาพการผลิตยางแผ่นผึ่งแห้งของประเทศ
จักรี เลื่อนราม - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การสำรวจศักยภาพการผลิตยางแผ่นผึ่งแห้งของประเทศ
ชื่อเรื่อง (EN): Study on the Potential of Air Dried Sheet Product in Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จักรี เลื่อนราม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การสำรวจศักยภาพการผลิตยางแผ่นผึ่งแห้งของประเทศ เพื่อพัฒนาและควบคุมคุณภาพยางที่ผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด และเพื่อทราบจำนวนและสถานที่ตั้งของโรงงานได้ดำเนินการแล้วเสร็จในภาคใต้ จำนวน 13 โรงงาน บริหารงานในรูปบริษัท 7 ราย กลุ่มเกษตรกร 6 ราย และเอกชนรายย่อย 1 ราย โดยมีความสามารถในการผลิต เฉลี่ยวันละ 15, 2.5 และ 0.7 ตัน ตามลำดับ ผลผลิตรวม 118.2 ตันต่อวัน หรือ 23,640 ตันต่อปี หรือร้อยละ 82 ของผลผลิตทั้งประเทศ จำนวน 0.028 ล้านตัน ในปี 2536 ลักษณะการผลิตตรงกับหลักวิชาการที่แนะนำ คือเจือจางน้ำยาง 12.5 เปอร์เซ็นต์ แต่อัตราการใช้กรดสูงกว่าคำแนะนำ คือใช้ 0.6-0.8 เปอร์เซ็นต์ เนื้อกรด/เนื้อยางแห้ง อัตรายางเสียประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตรวมระยะเวลาการอบ 3 - 4 วัน โดยเสียค่าไม้ฟืนเชื้อเพลิงประมาณ 0.2 บาทต่อยางแห้ง 1 กิโลกรัม และผู้ผลิตต้องการให้มีการประกาศราคายางแผ่นผึ่งแห้งเช่นเดียวกับยางชนิดอื่น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การสำรวจศักยภาพการผลิตยางแผ่นผึ่งแห้งของประเทศ
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดยางของสถาบันเกษตรกร การผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อนเชิงพาณิชย์ การศึกษาการกำหนดมาตรฐานเชิงวิทยาศาสตร์ยางแผ่นผึ่งแห้ง การศึกษาเปรียบเทียบวอเตอร์และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของกระบวนการผลิตยางพาราแผ่นในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ระบบการผลิตยางพาราภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การยอมรับวิธีการผลิตยางพาราของเกษตรกรในอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ศักยภาพการผลิตปลาสวยงามเพื่อการส่งออกในจังหวัดราชบุรี ศักยภาพการผลิตยางของสวนยางก่อนโค่นในภาคตะวันออก ศักยภาพการผลิตยางของสวนยางก่อนเปิดกรีดในภาคตะวันออก การปฏิบัติตามหลักการเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตยางพารา ของเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก