สืบค้นงานวิจัย
ส่วนสกัดของเหง้ากระชายดำที่มีฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้า
เสริมสกุล พจนการุณ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ส่วนสกัดของเหง้ากระชายดำที่มีฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้า
ชื่อเรื่อง (EN): Adaptogenic Active Fraction’ in Krachai-Dam (Kaempferia paviflora Wall ex Baker) Hexane Extract of Rhizomes
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เสริมสกุล พจนการุณ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sermsakul Pojanagaroon
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยส่วนสกัดของเหง้ากระชายดำ ที่มีฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้าภายใน สำหรับใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกกระชายดำพันธุ์ดี ที่มีกลุ่มสารออกฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้า ภายในเหง้าสูง มีการกำหนดมาตรฐานควบคุมคุณภาพเหง้าและผลิตภัณฑ์จากกระชายดำ โดยเฉพาะฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้าและความเป็นพิษด้วยการหาสารกสัดและส่วนสกัด ที่มีฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้าด้วยวิธีบังคับให้หนูทดลองว่ายน้ำทดสอบ ฤทธิ์ต้านความเครียดแบบและความเป็นพิษแบบเฉียบพลันด้วย โดยทำการแยกส่วนสกัดจากสารสกัดที่มีฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้าด้วย column chromatography โดยใช้ silica gel เพื่อหาส่วนสกัดที่ออกฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้า และยืนยันความปลอดภัยของส่วนสกัด พบว่าการทดสอบฤทธิ์ต้าน ความเหนื่อยล้าของเหง้ากระชายดำโดยวิธีบังคับให้ หนูทดลองว่ายน้ำนั้น สารสกัดเฮกเซนกระชายดำสามารถออกฤทธิ์ส่งผลให้หนูใช้เวลาว่ายน้ำมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกับผงรากโสมเกาหลี และยังมีฤทธิ์ต้านความเครียดแบบเฉียบพลัน สารสกัดดังกล่าว จัดได้ว่าปลอดภัยเมื่อได้รับโดยการบริโภคทางปากและมีค่าที่ทำให้หนูถีบจักรตาย (LD50) มากกว่า 2,000 มก./กก. เมื่อแยกและทดสอบฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้าของส่วนสกัดจากสารสกัดเฮกเซน พบว่าส่วนสกัดในสารสกัดเฮกเซนที่มีสารกลุ่มเทอร์พีนอยด์เป็นองค์ประกอบหลัก สามารถแสดงฤทธิ์ต้านทานความเหนื่อยล้าได้ ซึ่งไม่เกิดความเป็นพิษต่ออวัยวะของหนูถีบจักรแต่อย่างใด
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this research were to identify the adaptogenic active faction in Krachai-dam (Kaempferia paviflora) rhizomes to be used as fundamental data to create the chemical markers. The cultivars with high adaptogenic compounds had been selected to establish a standard for quality control (QC) of rhizomes and their products. The active extract was also tested for their toxicity by forced swimming mice. The experiment was performed to determine the active extract and fraction from the rhizomes. The adaptogenic active extract was also tested for acute anti-stress activity as well as its acute toxicity. The separation conducted by silica gel column chromatography could yield the adaptogenic active fraction from the same test. Which was also tested its toxicity. It revealed that the rhizome’s hexane extract could significantly prolong the swimming time period of mice. In addition, such an extract also possesses acute anti-stress activity. The extract was found safety as demonstrated by an oral (LD50) with its value higher than 2,000 mg/kg. Based on the process of separating and testing the fractions from hexane extract, the terpenoids-rich fraction was the adaptogenic active fraction that had no toxicity in mice’s organs.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ส่วนสกัดของเหง้ากระชายดำที่มีฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้า
กรมวิชาการเกษตร
2552
เอกสารแนบ 1

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก