สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตและการตลาดกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออก
เฉลิมเกียรติ โภคาวัฒนา - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตและการตลาดกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เฉลิมเกียรติ โภคาวัฒนา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ภัสรา ชวประดิษฐ์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตและการตลาดกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออกมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตและการตลาดกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออก โดยศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกษตรกรที่ผลิตกระเจี๊ยบเขียวจำนวน 189 ราย ในพื้นที่ 6 จังหวด ผู้ประกอบธุรกิจส่งออกกระเจี๊ยบเขียวจาก 11 บริษัท และข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า แหล่งผลิตกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออกอยู่ใน 6 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร สระบุรี อ่างทอง ราชบุรี นครปฐม และสุพรรณบุรี พื้นที่การผลิตในปี 2538/2539 รวม 1.898 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่จะผลิตในพื้นที่อยู่ในช่วง 1-5 ไร่ การใช้เทคโนโลยีการผลิตส่วนใหญ่จะปฏิบัติตรงตามคำแนะนำทางวิชาการ ผลผลิตเฉลี่ยที่เกษตรกรได้รับนั้นร้อยละ 36.51 จะสูงกว่า 3,000 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับปัญหาในการผลิตนั้น เกษตรกรส่วนใหญ่ได้ระบุปัญหาโรคและแมลงศัตรูกระเจี๊ยบเขียว ส่วนในด้านการตลาดนั้นพบว่า ตลาดต่างประเทศที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น โดยมีมูลค่าการส่งออกในระหว่างปี 2537-2539 ปีละไม่ต่ำกว่า200 ล้านบาท กระเจี๊ยบเขียวส่งออกส่วนใหญ่เป็นกระเจี๊ยบเขียวฝักสด บริษัทที่ประกอบธุรกิจส่งออกกระเจี๊ยบเขียวส่วนใหญ่ดำเนินการมาแล้ว 3-5 ปี ในการรับซื้อกระเจี๊ยบเขียวจากเกษตรกรจะเป็นตลาดข้อตกลง โดยบริษัทรับซื้อกระเจี๊ยบเขียวจากเกษตรกรตามราคาที่กำหนดไว้ก่อนแล้วซึ่งแต่ละบริษทที่รับซื้อนั้นทุกบริษัทได้ปริมาณต่ำกว่าเป้าหมาย ปัญหาของบริษัท ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งยุ่งยากและราคาสูง ขาดเทคโนโลยีการผลิต ผลผลิตไม่เพียงพอตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ค่าระวางขนส่งทางอากาศสูงทำให้เสียเปรียบประเทศคู่แข่งขันอื่น ๆ ผลจากการศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตและการตลาดกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออกนั้น เมื่อวิเคราะห์การผลิตโดยอาศัยข้อมูลทางภูมิศาสตร์ประกอบกับลักษณะการใช้เทคโนโลยีของการเกษตรและความต้องการสภาพแวดล้อมของกระเจี๊ยบแล้วได้ชี้ให้เห็นว่ากระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชที่มี ศักยภาพในการผลิตแต่ต้องลดข้อจำกัดบางประการลง เช่น ในบางพื้นที่ต้องรวมขนาดพื้นที่ปลูกให้มีพื้นที่มากขึ้น ให้มีการส่งตัวอย่างดินวิเคราะห์ทางเคมี ให้มีการทดสอบกระเจี๊ยบพันธุ์ต่าง ๆ ในสภาพพื้นที่ของเกษตรกร ให้มีการปรับการใช้ปุ๋ยเคมีให้ถูกต้องและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการคิดค้นเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อแนะนำเกษตรกร ต่อไป ส่วนศักยภาพทางการตลาดน้นเมื่อวิเคราะห์จากปริมาณมูลค่าการส่งออก ปริมาณการสั่งซื้อของผู้ประกอบธุรกิจในประเทศ และระบบการรับซื้อจากเกษตรกรแล้ว จะเห็นว่ากระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชที่มีศักยภาพในทางด้านการตลาดส่งออก และควรลดข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับการตลาดลง เช่น การกำหนดจุดรับซื้อจากเกษตรกรแทนการรับซื้อที่บริษัท การปฏิบัติตามขบวนการหรือการเก็บเกี่ยวเพื่อรักษาคุณภาพกระเจี๊ยบเขียว เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ระบบการผลิต การตลาดกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออกดำเนินไปอย่างสมบูรณ์เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในฝ่ายต่าง ๆ ในการผลิตกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออกต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2538
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2539
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตและการตลาดกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออก
กรมส่งเสริมการเกษตร
2539
ศักยภาพการผลิตและการตลาดปลานิล การผลิตและการตลาดน้ำผึ้งในจังหวัดขอนแก่น การผลิต การตลาด และความต้องการใช้ดาหลาในพื้นที่ภาคใต้ ศักยภาพการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์ยางของกลุ่มเกษตรกรสวนยาง ภาวะการผลิตกระเจี๊ยบเขียว โครงการวิจัยการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตและการตลาดกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง ศักยภาพการผลิตและการตลาดยางเครพของสถาบันเกษตรกร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศักยภาพการผลิตการตลาดข้าวหอมนิลและข้าวหอมมะลิแดงของเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือ ศักยภาพการผลิตและการส่งออกยางของเวียดนามและอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางของสาธารณรัฐประชาชนจีน รายงานผลการศึกษาสภาพการผลิตกระเจี๊ยบเขียวเพื่อส่งออก จังหวัดพิจิตร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก