สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาชีววิทยาการสืบพันธุ์ การกินอาหาร และการประเมินอายุของปลาเสือตอลายเล็กในบริเวณลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาวิธีการเพาะและขยายพันธุ์
ผศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม - มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ชื่อเรื่อง: การศึกษาชีววิทยาการสืบพันธุ์ การกินอาหาร และการประเมินอายุของปลาเสือตอลายเล็กในบริเวณลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาวิธีการเพาะและขยายพันธุ์
ชื่อเรื่อง (EN): Study on the reproductive and feeding biology and age evaluation of Northeastern Siamese tigerfish (Datnioides undecimradiatus) in the tributaries of Khong River for developing the technique of breeding
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การศึกษาชีววิทยาการสืบพันธุ์ การกินอาหาร และการประเมินอายุของปลาเสือตอลายเล็กในบริเวณลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาวิธีการเพาะและขยายพันธุ์” แก่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย ผศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อทราบระยะและการพัฒนาของระบบสืบพันธุ์ ความสมบูรณ์เพศ อายุ และการเจริญเติบโตของปลาเสือตอลายเล็กในแต่ละฤดูกาล และ 2) เพื่อทราบถึงลักษณะเนื้อเยื่อของระบบสืบพันธุ์และท่อทางเดินอาหารและการทำงานของ digestive enzyme เมื่อได้รับอาหารชนิดต่างกันของปลาในแต่ละช่วงอายุ จากการศึกษาวิจัย พบว่าปลาเสือตอลายเล็กเพศเมียมีความสมบูรณ์เพศและวางไข่ได้ในเดือนมกราคม ขณะที่ปลาเสือตอลายเล็กเพศผู้มีความสมบูรณ์เพศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ปลาเสือตอลายเล็กเพศผู้และเพศเมียที่มีความสมบูรณ์เพศจะถูกพบได้ทั้งสถานีบริเวณแม่น้ำโขง ประกอบด้วยสถานีบ้านตามุยและบ้านเวินบึก และสถานีในแม่น้ำมูล ประกอบด้วย สถานีบ้านชาดและบ้านโนนยาง ทั้งนี้ สถานีในแม่น้ำโขงมีช่วงสมบูรณ์เพศ (เดือนกุมภาพันธ์และเดือนเมษายน) ที่ช้ากว่าสถานีในแม่น้ำมูล (เดือนมกราคม) ส่วนผลการศึกษาองค์ประกอบของอาหารในท่อทางเดินอาหารพบว่าในปลาเสือตอขนาดเล็กน้ำหนักประมาณ 5 กรัม พบตัวอ่อนแมลงน้ำและซากกุ้งเป็นส่วนใหญ่และในปลาขนาด 50-100 กรัม พบซากกุ้งเป็นองค์ประกอบหลัก สำหรับอวัยวะในระบบทางเดินอาหารของปลาเสือตอตัวเต็มวัยที่พบในธรรมชาติ ประกอบด้วย ตับเป็นอวัยวะขนาดใหญ่ที่สุดในช่องท้องมีตำแหน่งอยู่ทางด้านหน้าของช่องท้องซึ่งจะห่อหุ้มหลอดอาหาร (esophagus) และกระเพาะส่วน cardiac stomach ไว้ และมีกระเพาะส่วน fundic stomach ทอดตัวอยู่ทางด้านท้ายของตับ กระเพาะอาหารมีรูปร่างเหมือนอักษร J โดยมีตำแหน่งอยู่ค่อนมาทางด้านซ้ายของช่องท้องและมีส่วนปลายของกระเพาอาหารส่วน pyloric stomach ที่มีลักษณะเป็นกรวยทอดตัวลงทางด้านล่างของช่องท้องเพื่อนำอาหารเข้าสู่ลำไส้ โดยตอนต้นของลำไส้มีไส้ติ่ง (pyloric caeca) จำนวน 6 อัน แตกแขนงอยู่ทางด้านล่างของช่องท้อง รวมถึงการทำงานของกิจกรรมเอนไซม์โปรติเอส อะไมเลส และไลเปส ในลูกปลาตั้งแต่อายุ 48 ชั่วโมงหลังจากการฟัก พออายุ 60 ชั่วโมง (ยังไม่ได้ให้อาหาร) กิจกรรมเอนไซม์โปรติเอสลดลง เนื่องจากเป็นช่วงที่ถุงไข่แดงยุบ หลังจาก 60 ชั่วโมงมีการให้อาหาร และเมื่อเก็บตัวอย่างลูกปลาอายุ 72 ชั่วโมง พบว่ากิจกรรมเอนไซม์โปรติเอสเพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่าตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงอายุ 48 ชั่วโมง และเป็นช่วงอายุที่กิจกรรมเอนไซม์ไลเปสเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ขณะที่อะไมเลสเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า กิจกรรมเอนไซม์โปรติเอสเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่ออายุ 7 และ 14 วันตามลำดับ เปรียบเทียบสัดส่วนของปริมาณกิจกรรมเอนไซม์ทั้งสามประเภทในทุกช่วงอายุของลูกปลาวัยอ่อน โปรติเอสมีค่าสูงกว่าอะไมเลสและไลเปสอย่างชัดเจน สอดคล้องกับการศึกษาในลูกปลาในกลุ่ม carnivore ชนิดอื่นๆ สำหรับกิจกรรมเอนไซม์อะไมเลส ซึ่งพบตั้งแต่อายุ 48 ชั่วโมงหลังจากการฟัก ถึงแม้ว่าพบในปริมาณน้อยมาก และสอดคล้องกับการศึกษาในลูกปลาวัยอ่อนในปลา carnivore และ omnivore นอกจากนี้ยังพบว่ากิจกรรมเอนไซม์โปรติเอสในกระเพาะอาหารและลำไส้สูงกว่ากิจกรรมเอนไซม์อะไมเลสและไลเปสอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นรูปแบบของปลาในกลุ่มปลากินสัตว์ (carnivore) ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัยนี้คือ ได้องค์ความรู้ระยะและพัฒนาการของระบบสืบพันธุ์ ความสมบูรณ์เพศ อายุ การเจริญเติบโต และลักษณะเนื้อเยื่อของท่อทางเดินอาหารและการทำงานของ digestive enzyme ของปลาเสือตอลายเล็กในแต่ละฤดูกาล
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-01-11
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-01-10
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาชีววิทยาการสืบพันธุ์ การกินอาหาร และการประเมินอายุของปลาเสือตอลายเล็กในบริเวณลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาวิธีการเพาะและขยายพันธุ์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
10 มกราคม 2558
การเพาะพันธุ์ปลาเสือตอลายเล็กโดยการกระตุ้นด้วยฮอร์โมน 2 วิธี ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของหอยหลอด (Solen corneus Lamarck, 1818) ในจังหวัดชุมพร การกินอาหารของปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา (ชื่อเดิม ชีววิทยาการกินอาหารของปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา) ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาที่สำคัญทางเศรษฐกิจบางชนิดในแม่น้ำชี ชีววิทยาเพื่อการเพาะพันธุ์ของปลารากกล้วยในแม่น้ำวัง จังหวัดลำปาง(ชีววิทยาบางประการของปลารากกล้วยในแม่น้ำวังจังหวัดลำปาง) อายุที่เหมาะสมของแม่พันธุ์ในการเพาะพันธุ์ปลาชะโอน การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ทานตะวันกินเมล็ดเพื่อพันธุ์การค้า อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงอุทกวิทยาและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการอพยพของปลาบางชนิดในแม่น้ำโขง การพัฒนาอาหารนกกระจอกเทศ ชีววิทยาบางประการของปลาดุกด้านในจังหวัดพิจิตร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก