สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกรในตำบลสำนักตะคร้อ กิ่งอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา
สมพร ประภาวิชา - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกรในตำบลสำนักตะคร้อ กิ่งอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมพร ประภาวิชา
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกรในตำบลสำนักตะคร้อ กิ่งอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกร สภาพการผลิตและการตลาดพริก ปัญหาอุปสรรคและความต้องการของเกษตรกรผู้ผลิตพริก เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสุ่มตัวอย่างเกษตรกร 272 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือประมวลผลคอมพิวเตอร์ ใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกพริกที่ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 42.72 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.89 คน สมาชิกที่เป็นแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.97 คน พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 35.91 ไร่ ส่วนมากเป็นของตนเอง ประกอบอาชีพหลักคือการทำนา เป็นสมาชิก ธ.ก.ส. รายได้รวมทั้งหมดของครอบครัวเฉลี่ยทั้งภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร 75,751.42 บาทต่อปี มีพื้นที่ปลูกพริกเฉลี่ย 5.39 ไร่ ประสบการณ์ในการปลูกพริกเฉลี่ย 11.85 ปี พื้นที่ปลูกพริกส่วนมากเป็นดินร่วนปนทราย พันธุ์พริกที่ปลูกได้แก่พันธุ์จินดา โดยเพาะกล้าเอง ซึ่งการเพาะกล้าเพาะจากเมล็ดที่ยังไม่งอก เริ่มปลูกพริกระหว่างเดือนเมษายน ปลูกเป็นแถวเดี่ยว ระยะระหว่างต้นเฉลี่ย 37.94 เซนติเมตร ระหว่างแถวเฉลี่ย 125.92 เซนติเมตร อายุกล้าที่ย้ายปลูกเฉลี่ย 73.55 วัน การปลูกส่วนมากอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในการปลูกพริก เก็บเกี่ยวพริกครั้งแรกเดือนสิงหาคม อายุพริกที่เก็บเกี่ยวเฉลี่ย 112.62 วัน ผลผลิตพริกที่ได้เฉลี่ย 2,125.35 กิโลกรัม (น้ำหนักสด) ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 2,886.14 บาทต่อไร่ ราคาจำหน่ายเฉลี่ย 18.46 บาทต่อกิโลกรัม (พริกสด) ราคาจำหน่ายเฉลี่ย 60.90 บาทต่อกิโลกรัม พริกแห้ง ผลตอบแทนกำไรสุทธิ 4,392.82 บาทต่อไร่ ปัญหาที่พบคือ ประสบฝนแล้ง โรคแมลงศัตรูพืชระบาดและขาดการรวมกลุ่ม ความต้องการของเกษตรกร ได้แก่ ต้องการปัจจัยการผลิตราคาถูก การประกันราคาผลผลิต และแหล่งจำหน่ายผลผลิต ข้อเสนอแนะ ควรจัดหาแหล่งจำหน่ายปัจจัยการผลิตและรับซื้อผลผลิตที่ได้มาตรฐานและเป็นธรรมต่อเกษตรกร มีการประกันราคาผลผลิต ส่งเสริมให้เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่มการผลิต ส่งเสริมให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิต โดยการปฏิบัติตามหลักวิชาการ ลดต้นทุนการผลิตโดยใช้วิธีเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ การผลิตพริกด้วยเทคนิคจุลินทรีย์ เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลสำนักตะคร้อ กิ่งอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกรในตำบลสำนักตะคร้อ กิ่งอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกร อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา การผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกรในตำบลบัลลังก์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ความต้องการของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดเบญจมาศในจังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี ศึกษาการผลิตและการตลาดพริก สภาพการผลิตและการตลาดข้าวนาปีของเกษตรกรกิ่งอำเภอ ลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดละหุ่งของเกษตรกรในกิ่งอำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา การผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลหนองหัวแก อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลหนองหว้า กิ่งอำเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก