สืบค้นงานวิจัย
แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนบ้านบางชะนี ตำบลบางชะนี อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชาญชัย แหลมเจริญพงศ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนบ้านบางชะนี ตำบลบางชะนี อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชาญชัย แหลมเจริญพงศ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยแนวทางการพัฒนาแนวทางพัฒนาวิสาหกิจชุมชนบ้านบางชะนี ตำบลบางชะนี อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ1) ศึกษาบริบทชุมชนและสถานการณ์ของวิสาหกิจชุนชนฯ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์พริกแกงของวิสาหกิจชุมชนฯ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากข้อมูลการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน และการบันทึกผลการปฏิบัติงานของทีมวิจัยและข้อมูลปฐมภูมิจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การจัดเวทีชุมชน การสนทนากลุ่ม และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ การจัดหมวดหมู่ การหาความสัมพันธ์ และวิเคราะห์ SWOT ผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทชุมชนและสถานการณ์ของวิสาหกิจชุนชน : พื้นที่ทั้งหมด 3,587 ไร่ เป็นพื้นที่การเกษตร 1,751 ไร่ แบ่งออกเป็น 5 หมู่บ้าน สภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม น้ำท่วมสูงทุกปี มีฝนตก 870 มิลลิลิตร เหมาะสมในการปลูกข้าว แต่มีปัญหาน้ำท่วมขัง สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจของชุมชน คือทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก พื้นที่ถือครองการเกษตรประมาณ 15 – 20 ไร่ ต่อครัวเรือน มีรายได้จากภาคเกษตร 40,000 – 50,000 บาท/ปี อาชีพเสริม ได้แก่ รับจ้าง และค้าขาย สมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือน และมีภูมิปัญญาในการทำพริกแกงที่มีรสชาติดี ในปี พ.ศ. 2546 เริ่มผลิตพริกแกงเผ็ดขาย มีการระดมหุ้นและได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต มีการระดมหุ้นเงินกองทุนเริ่มต้น จำนวน 5,000 บาท สามารถผลิตพริกแกงได้ 45 กิโลกรัม/เดือน จากการวิเคราะห์ SWOT พบว่า ยังมีจุดอ่อน คือ ขาดการรับรองมาตรฐานอาหาร(อย.) การบรรจุภัณฑ์ยังไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ราคาผลิตภัณฑ์มีราคาสูง ด้านตลาดยังไม่กว้าง แต่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านบางชะนี ก็มี จุดแข็ง คือ สมาชิกมีความพร้อมในการผลิตสินค้า มีการระดมหุ้นเป็นทุนการดำเนินงาน และเปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม มีการทำบัญชีอย่างชัดเจนสม่ำเสมอ 2) แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์พริกแกงของวิสาหกิจชุมชน : คือ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ตามความต้องการของตลาด และดำเนินการประสานงานกับกลุ่ม/เครือข่ายเพื่อขยายตลาดให้กว้างขึ้น พัฒนาคุณภาพของน้ำพริกให้ได้มาตรฐาน เก็บได้นาน ส่งเสริมการปลูกวัตถุดิบในชุมชน เพิ่มชนิดของผลิตภัณฑ์ให้หลากหลาย
บทคัดย่อ (EN): The objectives were 1) to study context and situation of the Community Enterprise (CE) 2) to study approach of CE development. Participatory action research (PAR) was employed in this study. Data were collected by secondary data from evaluation of CE potential and note down of DOAE officials. Primary data were collected by participant observation, local forum, and focus group. Data were analyzed by qualitative method including grouping, relation, and SWOT analysis. The results were as follows: firstly, context and situation of the CE, whole area was 3,587 rais and 1,751 rais agricultural area. There are 5 villages. The area is flat, 870 mm. of rainfall and flooding every year. It is suitable for rice cultivation but they suffer from floods. Economic of the community composes of agriculture as main occupation, 15-20 rais/household agricultural land tenure. Agricultural income was 40,000-50,000 baht/year. Supplementary occupation was employee and commerce. Majority of CE member plants vegetables in their area. They have local wisdom deal with good taste of curry and gain new technology for curry production. In 2546, they collected fund, 5,000 baht, from member. They produce 45 kgs/month of curry for selling. From SWOT analysis, it was as follows: weakness was lacking of standard of food processing. Packaging is not respond customer need. Product price is still high as well as a few markets. In terms of strength was member’s potentiality to produce curry. This CE can collect fund from member for operation and member have chance to takes part in activity. Furthermore, the group keeps account consistency. Secondly, approaches of CE development are as follows: to improve packaging respond need of customer, to cooperate with network for enlarge market, to improve product quality, to plant raw materials in community, to increase varieties of product.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
เอกสารแนบ: http://www.research.doae.go.th/webphp/projectres/filepdf/ayutaya52.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนบ้านบางชะนี ตำบลบางชะนี อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2552
เอกสารแนบ 1
การศึกษาแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางพัฒนาวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองยางไคล ตำบลทาทุ่งหลวง อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งในการบริหารวิสาหกิจชุมชนของจังหวัดสุรินทร์ รูปแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่แหล่งเรียนรู้จังหวัดสุรินทร์ การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน : กรณีโรงสีชุมชนครบวงจรตำบลไก่คำ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ การพัฒนาแอปพลิเคชันบัญชีบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาระบบบัญชีของวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอบางเลน การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำชมพู่เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี การดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดชุมพร การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์สำหรับชุมชน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเครื่องจักรกลเกษตรชุมชน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก