สืบค้นงานวิจัย
การเร่งระยะเวลาการให้ผลผลิตกล้วยหอมทองส่งออกให้ออกผลเร็วขึ้น ในกรณี: การเตรียมต้นกล้าให้สมบูรณ์ในอายุที่แตกต่างกันก่อนการนำลงปลูกทดแทนการให้หน่อโดยตรง
ชัยวิชิต เพชรศิลา, ณัชพัฒน์ สุขใส, ปณิดา กันถาด, ชัญญาภัค หล้าแหล่ง - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การเร่งระยะเวลาการให้ผลผลิตกล้วยหอมทองส่งออกให้ออกผลเร็วขึ้น ในกรณี: การเตรียมต้นกล้าให้สมบูรณ์ในอายุที่แตกต่างกันก่อนการนำลงปลูกทดแทนการให้หน่อโดยตรง
ชื่อเรื่อง (EN): Accelerated period to yield banana exports faster. Case: Preparation for the seedlings in different age prior to replanting the shoots directly
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยการเร่งระยะเวลาการให้ผลผลิตกล้วยหอมทองส่งออกให้ออกผลเร็วขึ้น ในกรณี: การเตรียมต้นกล้าให้สมบูรณ์ในอายุที่แตกต่างกันก่อนการนำลงปลูกทดแทนการให้หน่อโดยตรง ศึกษาในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พบว่า หน่อที่ควรนำมาใช้เพื่อเตรียมต้นกล้าขนาดหน่อความสูง 4-6 เซนติเมตร และรอบโคนหน่อ 26 เซนติเมตรขึ้นไป หากใช้โคนต้นจะเล็กลงตามขนาดหน่อที่เล็กลง เมื่ออยู่ในสภาพแปลงจริง ขนาดโคนที่ต้นกล้า 45, 60, 95 และ 120 วัน ต้นกล้าที่มีอายุ 45 วัน มีขนาดโคนต้นที่ใหญ่ที่สุด การเจริญเติบโตของขนาดโคนเป็น 3 ระยะ คือ ขนาดโคนลดลงช่วงเวลา 1-11 สัปดาห์หลังปลูก, G2 โคนต้นชะงักเจริญเติบโตช่วง 13-19 สัปดาห์ และ G3 โคนต้นกลับมาเจริญเติบโตอีกครั้งหลังสัปดาห์ที่ 19 ส่วนด้านความสูงสะสมของต้น ทุกระยะต้นกล้าไม่มีความแตกต่างกันในสัปดาห์ที่ 1-15 และเมื่อต้นกล้วยหอมทองเริ่มมีการขาดน้ำ ความสูงของต้นกล้าที่มีอายุ 45 วัน สูงที่สุด การเจริญเติบโตของความสูงมี 2 ระยะ คือ ระยะ G1 หลังจากการปลูกขนาดโคนลดลงช่วง 1-2 สัปดาห์ และ G2 ขนาดโคนเริ่มกลับมาเจริญเติบโตอีกครั้งหลังจากสัปดาห์ที่ 3 เป็นต้นไป แต่เมื่อน้ำท่วมขังหน่อกล้วยปกติเกิดการเน่าเสียทั้งหมด และเมื่อขาดน้ำ 3 เดือน ต้นกล้า 45 วัน เสียหายทั้งหมดแต่ยังสามารถแตกหน่อขึ้นมาใหม่ ส่วนต้นกล้าอายุ 65, 95 และ 120 วัน มีขนาดต้นทั้งขนาดโคนต้นและความสูงที่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยการแตกหน่อของต้นที่มีชีวิต ในต้นกล้ากล้วยหอมอายุ 65 วัน สามารถแตกหน่อได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ คำสำคัญ : กล้วยหอมทอง ระบบการปลูกกล้วยหอมทอง ต้นกล้ากล้วยหอมทอง
บทคัดย่อ (EN): Research accelerated time to yield banana exports out faster in case: preparation of seedlings in a completely different age, before bringing down the replanting sucker directly. Studies in the University - Chumphon the suckers that should be used to prepare the seedlings sprout a height of 4-6 cm and 26 cm above the base of the spire. If the stem is smaller in size, the smaller offshoots. When in actual field conditions The base of the seedling size 45, 60, 95 and 120 days, 45 days old seedlings at a tree largest. The growing size of the base is a base of the third phase is decreased during 1-11 weeks after planting, G2 arrest stem growth during weeks 13-19 and G3 tree to grow again after 19 weeks at the top. The height of the collector each seedling is no difference in weeks 1-15, and banana trees begin to dehydration. The height of the seedlings last 45 days, the highest growth in height has two phases G1 after planting base size reduction over 1-2 weeks and G2 size cone started to grow again after three weeks. However, the flooding is the rotten banana suckers all. When dehydrated about 3 months, 45 days seedling damage, but can also sprouting up. The seedlings aged 65, 95 and 120 days are both from the base and height did not differ statistically. The bud of the tree of life. The 65-day-old banana seedlings can sprout up to 90 percent. Keyword : Banana, Banana plantation system and Banana seedlings
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเร่งระยะเวลาการให้ผลผลิตกล้วยหอมทองส่งออกให้ออกผลเร็วขึ้น ในกรณี: การเตรียมต้นกล้าให้สมบูรณ์ในอายุที่แตกต่างกันก่อนการนำลงปลูกทดแทนการให้หน่อโดยตรง
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 กันยายน 2558
ผลของปุ๋ยชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพต่อการเติบโต ผลผลิตและคุณภาพกล้วยหอมทองอินทรีย์เพื่อการส่งออก ในกลุ่มชุดดินที่ 7 การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง ในเขตพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา ผลผลิตระหว่างหัวพันธุ์ที่แตกต่างกันของไพล การศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและผลผลิตมะขาม 19 พันธุ์ อายุ 4 ปี ในสถานีวิจัยปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ฮอร์โมน 17 alpha methyltestosterone ในการผลิตลูกปลานิลแปลงเพศ ระบบน้ำหมุนเวียน อิทธิพลของปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตของชมจันทร์ แนวทางการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากกล้วยหอมทอง ผลของการจัดกิ่งหลักที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมังคุด การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต้นกล้าและสร้างสารสำคัญทางโภชนาการในธัญพืชไทยโดยเทคโนโลยีชีวภาพ เสถียรภาพของพันธุ์ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันต่อการให้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก