สืบค้นงานวิจัย
การอนุบาลลูกปลาโมงในถังพลาสติกระบบน้ำหมุนเวียนที่ความหนาแน่นและระดับความลึกน้ำต่างกัน
วิระวรรณ ระยัน - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การอนุบาลลูกปลาโมงในถังพลาสติกระบบน้ำหมุนเวียนที่ความหนาแน่นและระดับความลึกน้ำต่างกัน
ชื่อเรื่อง (EN): Nursing of Pangasius bocourti (Sauvage, 1880) in Plastic Tanks Using Closcd-Water System at Different Densities and Water Depths
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิระวรรณ ระยัน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การอนุบาลลูกปลาโมงในถังพลาสติกระบบน้ำหมุนเวียน โดยศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) ความหนาแน่น 3 ระดับ (1,000, 1,500 และ 2,000 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร) และ 2) ระดับความลึกของน้ำ 2 ระดับ (30 และ50 เซนติเมตร) ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสกลนคร ปลาทดลองมีความยาวเริ่มต้นเฉลี่ย 1.01±0.02 นิ้ว และน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 0.24±0.03 กรัม ทดลองในถังพลาสติกขนาดความจุ 500 ลิตร (79x108x68 เซนติเมตร) จ้านวน 18 ถัง ให้ปลาทดลองกินอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำ ระดับโปรตีน 30 และ 40 เปอร์เซ็นต์ โดยให้กินจนอิ่มวันละ 2 ครั้ง เวลา 06.00 น.และ 15.00 น.ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน 2554 เป็นเวลา 4 สัปดาห์ปรากฏผลการการทดลองดังนี้ ผลจากปัจจัยความหนาแน่น 1,000, 1,500 และ 2,000 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร พบว่าลูกปลาโมงมีความยาวเฉลี่ยสุดท้ายเท่ากับ 3.11±0.04, 2.94±0.12 และ 3.05±0.13 นิ้ว น้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ยเท่ากับ 5.70±0.45, 5.80±0.43 และ5.36±1.40กรัม ความยาวเพิ่มต่อวันเฉลี่ยเท่ากับ 0.074±0.002,0.070±0.004และ0.073±0.004 นิ้วต่อวัน น้ำหนักเพิ่มต่อวันเฉลี่ยเท่ากับ 0.195±0.020, 0.199±0.014 และ 0.183±0.049กรัมต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะด้านความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 0.040±0.001, 0.039±0.001 และ 0.039±0.001 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะด้านน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 0.114±0.002,0.115±0.004และ 0.111±0.006เปอร์เซ็นต์ต่อวัน อัตราแลกเนื้อเฉลี่ยเท่ากับ 0.908±0.181, 0.770±0.283 และ 1.046±0.205และอัตรารอดตายเฉลี่ยเท่ากับ 71.295±9.657, 57.108±19.366 และ 52.290±20.060 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยพบว่าน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ยน้ำหนักเพิ่มต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ อัตราแลกเนื้อ และอัตรารอดตายของทุกความหนาแน่น ไม่ความแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.05) สำหรับความยาวสุดท้ายเฉลี่ย และความยาวเพิ่มต่อวันของลูกปลาที่ความหนาแน่น1,000 และ 2,000 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร พบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p=0.05) แต่แตกต่างกับลูกปลาที่ความหนาแน่น 1,500 ตัวต่อลูกบาศก์เมตรอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.05) ผลจากปัจจัยความลึกของน้ำ 30 และ 50 เซนติเมตร พบว่าลูกปลาทดลองมีความยาวเฉลี่ยสุดท้ายเท่ากับ 3.03±0.15และ 3.03±0.09 นิ้ว น้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ยเท่ากับ 5.86±0.89และ 5.39±0.80กรัม ความยาวเพิ่มต่อวันเฉลี่ยเท่ากับ 0.073±0.004 และ 0.072±0.003 นิ้วต่อวัน น้ำหนักเพิ่มต่อวันเฉลี่ยเท่ากับ 0.201±0.031และ 0.184±0.028กรัมต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะด้านความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 0.040±0.001 และ 0.039±0.001 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะด้านน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 0.114±0.004และ 0.112±0.005เปอร์เซ็นต์ต่อวัน อัตราแลกเนื้อเฉลี่ยเท่ากับ 0.969±0.322และ 0.847±0.116 ตามลำดับ และอัตรารอดตายเฉลี่ยเท่ากับ 53.459±19.856และ 69.669±10.436 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยพบว่าทุกค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p=0.05) ยกเว้นอัตรารอดตายที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.05) ทั้งนี้ พบว่าทั้งสองปัจจัยมีอิทธิพลร่วมกันอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.05) ต่อค่าความยาวสุดท้ายเฉลี่ยและน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย สำหรับค่าการกระจายตัวของขนาดความยาวของลูกปลาโมงในการทดลองครั้งนี้ พบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.05)ในทุกชุดการทดลอง พิจารณาด้านต้นทุนและผลตอบแทนในการอนุบาลลูกปลาโมงที่ความหนาแน่น 3 ระดับ ที่ระดับความลึกของน้ำ 30 เซนติเมตร พบว่ามีต้นทุนการผลิตเท่ากับ 3.60, 4.08 และ 4.22 บาทต่อตัว และผลตอบแทนต่อการลงทุนเท่ากับ -3.00, -20.61 และ -17.72 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และที่ระดับความลึกของน้ำ50 เซนติเมตร พบว่ามีต้นทุนการผลิตเท่ากับ 2.54, 2.58 และ 2.18 บาทต่อตัว และผลตอบแทนต่อการลงทุนเท่ากับ 25.56, 23.31 และ 39.29 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จากผลการทดลองครั้งนี้ สรุปได้ว่า การอนุบาลลูกปลาโมงขนาด 1 นิ้ว ให้ได้ขนาด 3 นิ้ว ในถังพลาสติกขนาดความจุ 500 ลิตร ในระบบน้ำหมุนเวียนที่ความหนาแน่น 2,000 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ที่ระดับความลึกของน้ำ 50 เซนติเมตร มีความเหมาะสมมากที่สุด เมื่อพิจารณาจากอัตราการเจริญเติบโต และผลตอบแทนต่อการลงทุน
บทคัดย่อ (EN): Nursing of Pangasius bocourti (Sauvage, 1880) in plastic tanks using closed-water system were studied about 2 factors (stocking densities and water depths) at Sakon Nakhon Inland Fisheries Research and Development Center. Three different stocking densities were 1,000, 1500 and 2,000 fry/m^3 and two water depths were 30 and 50 cm, respectively. Fish sample had initial sizes of 1.01±0.02 inch and 0.24±0.03 g were stock in 18 of 500 liters (79x108x68 cm) plastic tanks. Fish were fed satiation twice a day (06.00 am and 03.00 pm) with commercial pellet protein of 30% and 40% during May to June, 2011 about 4 weeks. The results of three different stocking densities (1,000, 1,500 and 2,000 fry/m^3 ) found that the average final body length were 3.11±0.04, 2.94±0.12 and 3.05±0.13 inch, final body weight were 5.70±0.45, 5.80±0.43 and 5.36±1.40 g, length growth rate were 0.074±0.002,0.070±0.004 and 0.073±0.004 inch/day, daily weight gain were 0.195±0.020, 0.199±0.014 and 0.183±0.049 g/day, specific growth rate on length were 0.040±0.001, 0.039±0.001and 0.039±0.001 %/day, specific growth rate on weight were 0.114±0.002, 0.115±0.004 and 0.111±0.006 %/day, feed conversion ratio were 0.908±0.181, 0.770±0.283 and 52.290±20.060, and survival rate were 71.295±9.657, 57.108±19.366 and 52.290±20.060 %, respectively. From the results showed that had no significant differences (p=0.05) in final body weight, daily weight gain, specific growth rate, feed conversion ratio and survival rate. For the final body length and length growth rate of 1,500 fry/m^3 had significant differences (p=0.05) from 1,000 and 2,000 fry/m^3 , respectively. While, there were no significant differences (p=0.05)between 1,000 and 2,000fry/m^3 treatment. The results of two different water depths (30 and 50 cm) found that the average final body length were 3.03±0.15 and 3.03±0.09 inch, final body weight were 5.86±0.89and 5.39±0.80g, length growth rate were 00.073±0.004 and 0.072±0.003 inch/day, daily weight gain were 0.201±0.031 and 0.184±0.028 g/day, specific growth rate on length were 0.040±0.001 and 0.039±0.001 %/day, specific growth rate on weight were 0.114±0.004and 0.112±0.005 %/day, feed conversion ratio were 0.969±0.322 and 0.847±0.116 and survival rate were 53.459±19.856and 69.669±10.436 %, respectively. From the results showed that only the survival rate had significant differences (p=0.05) among the treatment. Interaction of 2 factors had significantly influence (p=0.05) in final body length and final body weight. For fish size distribution were significant differences (p=0.05) among the treatments. The production cost of 1,000, 1,500 and 2,000 fry/m^3 at 30 cm water depth were 3.60, 4.08 and 4.22 baht/fish and returned to all cost were -3.00,-20.61 and -17.72 %, respectively. Whereas, at 50 cm water depth were 2.54, 2.58 and 2.18 baht/fish and returned to all cost were25.56, 23.31 and 39.29, respectively. In conclusion, nursing of Pangasius bocourti fry at 2,000/m^3 of 50 cm water depth was suitable stocking density when growth rate and production cost were considered.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-07-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การอนุบาลลูกปลาโมงในถังพลาสติกระบบน้ำหมุนเวียนที่ความหนาแน่นและระดับความลึกน้ำต่างกัน
กรมประมง
31 กรกฎาคม 2554
เอกสารแนบ 1
กรมประมง
ผลของระดับความหนาแน่นต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาหมอด้วยชุดถังเลี้ยงปลาระบบน้ำหมุนเวียน การเตรียมแผ่นฟิล์มพอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำและแป้งเทอร์โมพลาสติกดัดแปร การอนุบาลปลาบู่ขนาด 5 เซนติเมตรในบ่อดินด้วยความหนาแน่นต่างกัน การอนุบาลลูกปลานิลแปลงเพศด้วยสูตรอาหารและความหนาแน่นที่ต่างกัน การเลี้ยงปลากะรังจุดฟ้า Plectropomus leopardus (Lacepede, 1802) ขนาด 200 กรัม ในกระชังด้วยความหนาแน่นต่างกัน 2 ระดับ ผลของการเสริมกรดไขมันอะราชิโดนิก(20:4n-6) ในอาหารแม่พันธุ์กุ้งก้ามกรามต่อความเครียดและการอนุบาลลูกกุ้งในระดับความเค็มต่างกัน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นบริเวณหัวคอนดายส์ในภาพรังสีปริทัศน์กับความหนาแน่นของกระดูกในสตรีหลังวัยหมดระดูก การเลี้ยงปลาแดงเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ที่ความหนาแน่นต่างกัน การอนุบาลปลาเวียนในบ่อซีเมนต์ด้วยความหนาแน่นแตกต่างกัน การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดินที่ความหนาแน่นต่างกัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก