สืบค้นงานวิจัย
ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอ
ปิยพงศ์ บางใบ, ณัฐรินทร์ ศิริรัตนนันท์, ธนภัทร วรปัสสุ, พรทิศา ทองสนิทกาญจน์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่อง: ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอ
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of chitosan on growth performance of climbing perch, Anabas testudineus (Bloch, 1792)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาผลของไคโตซานต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของปลาหมอ วางแผนการ ทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design : CRD) 3 ซ้ำ โดยเสริมไคโตซานใน อาหารเม็ดสำเร็จรูปชนิดลอยน้ำ (โปรตีน 32 เปอร์เซ็นต์) ที่ระดับ แตกต่างกันได้แก่ 0.0, 0.5, 1.0 และ 1.5 เปอร์เซ็นต์ ทดลองเลี้ยงปลาหมอน้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น 2.12?0.02 กรัม ในกระชัง ขนาด 1.0x2.0x1.2 เมตร ที่แขวนในบ่อดิน อัตราการปล่อย 15 ตัว/ตารางเมตร เป็นระยะเวลา 120 วันเมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าปลาหมอมีน้ำ หนักสุดท้ายเท่ากับ 110.20?1.72, 114.75?0.77, 118.38?1.24 และ 119.41?0.74 กรัม ตามลำดับ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น มีค่าเท่ากับ 108.09?1.76, 112.63?0.80, 116.24?1.30 และ 117.30?0.75 กรัม ตามลำดับ อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน มีค่า เท่ากับ 0.90?0.02, 0.94?0.00, 0.97?0.01 และ 0.98?0.00 กรัม/วัน ตามลำดับ อัตราการเปลี่ยน อาหารเป็นเนื้อ มีค่าเท่ากับ 1.86?0.01, 1.80?0.01, 1.75?0.05 และ 1.76?0.02 ตามลำดับ และอัตรา การรอดตาย มีค่าเท่ากับ 93.33?1.92, 87.78?4.00, 90.00?3.33 และ 90.00?1.92 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อนำไปวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า ปลาหมอที่ได้รับอาหารเสริมด้วยไคโตซานที่ระดับ 1.0 และ 1.5 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำ หนักสุดท้าย น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน และอัตราการ เปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ ดีกว่า ปลาหมอที่ได้รับอาหารเสริมไคโตซานที่ระดับ 0.0 เปอร์เซ็นต์ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (P0.05) การเสริมไคโตซานในอาหาร ที่ระดับ 1.0 เปอร์เซ็นต์ ช่วยให้ปลาหมอมีการเจริญเติบโตที่ ดีขึ้น
บทคัดย่อ (EN): The aim of this study to determine the effect of chitosan on growth performances of climbing perch, Anabas testudineus (Bloch, 1792). The experimental design was Completely Randomized Design (CRD) at 3 replications. Mixed feed contained different concentration of chitosan as 0.0, 0.5, 1.0 and 1.5 percent of floating pellet feed (32 percent protein). Fish with the initial average weight 2.12?0.02 g. They were fed for 120 days to climbing perch fingerling stocked in net cage hapa. (1.0 x 2.0 x 1.2 m) placed in earthen pond at a density of 15 fish/m2. Results indicated that final weight were 110.20?1.72, 114.75?0.77, 118.38?1.24 and 119.41?0.74 g respectively, weight gained was 108.09?1.76, 112.63?0.80, 116.24?1.30 and 117.30?0.75 g respectively, average daily growth was 0.90?0.02, 0.94?0.00, 0.97?0.01 and 0.98?0.00 g/day respectively, feed conversion ratio was 1.86?0.01, 1.80?0.01, 1.75?0.05 and 1.76?0.02 respectively, survival rate was 93.33?1.92, 87.78?4.00, 90.00?3.33 and 90.00?1.92 percent respectively. From the study the result showed that fish were fed with diets of chitosan as 1.0 and 1.5 percent of feed had greater in final weight, weight gain, average diary growth, feed conversion rate than those fed with control diet (P0.05). In summary, 1.0 percent chitosan should be added in climbing perch diet to provide better growth.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
30 กันยายน 2558
ชนิดและระดับคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอ การประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะการเจริญเติบโตในปลาหมอ ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของการเลี้ยงปลาหมอไทยในกระชังในที่ดินพรุ จังหวัดนราธิวาส การเสริมกากมะพร้าวสกัดน้ำมันในสูตรอาหารต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของปลาหมอ การใช้ไคโตซานในการควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคพืชในเมล็ดพันธุ์ (ระยะที่ 1) การใช้ประโยชน์ของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพดอกดาวเรือง การเสริมโปรไบโอติกและอีเอ็มในอาหารต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของปลาหมอไทยที่เลี้ยงในกระชัง การศึกษาประสิทธิภาพของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของปทุมาพันธุ์ลัดดาวัลย์ ผลของการใช้เศษเหลือจากกระบวนการหมักมันสกุล Dioscorea sp. ด้วยยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ต่อการเจริญเติบโต และการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันของปลาหมอ การใช้ไคโตซานในการควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคพืชในเมล็ดพันธุ์ (ระยะที่ 2)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก