สืบค้นงานวิจัย
ผลของการจำกัดแสงในช่วงระยะเจริญเติบโตที่มีต่อสมรรถภาพทางการสืบพันธุ์ของห่านพันธุ์จีน
นิรัตน์ กองรัตนานันท์ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: ผลของการจำกัดแสงในช่วงระยะเจริญเติบโตที่มีต่อสมรรถภาพทางการสืบพันธุ์ของห่านพันธุ์จีน
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of Light Restriction during the Rearing Period on Reproductive Performance of Chinese Geese
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นิรัตน์ กองรัตนานันท์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อัญชลี Anchalee
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจำกัดแสงในช่วงระยะเจริญเติบโตที่มีต่อการเจริญเติบโต ค่าทางโลหิตวิทยา และสมรรถภาพการสืบพันธุ์ในห่าน ศึกษาในห่านพันธุ์จีนเพศเมียอายุ 6 สัปดาห์จำนวน 86 ตัวแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มแบ่งออกเป็น 4 ซ้ำๆ ละ 4 ตัว เลี้ยงแบบขังคอกปล่อยพื้นในคอกควบคุมแสง ช่วงอายุ 6 ถึง 18 สัปดาห์ กลุ่ม 1 ได้รับแสงวันละ 12 ชั่วโมง (กลุ่มควบคุม) ในขณะที่กลุ่ม 2 3 และ 4 ได้รับแสงวันละ 10 8 และ 6 ชั่วโมงตามลำดับ ทุกกลุ่มได้รับความเข้มแสงใกล้เคียงกันโดยมีค่าเฉลี่ยประมาณ 7 ถึง 8 ลักษ์ และได้รับอาหารเป็ดพันธุ์ระยะเป็ดรุ่นและน้ำดื่มอย่างเต็มที่ ในช่วงระยะจำกัดแสงไม่มีความแตกต่างทางสถิติในน้ำหนักตัว ปริมาณอาหารที่กิน ฮีมาโตคริต ระดับแคลเซียมไอออน ฮอร์โมนโกนาโดโทรปินส์ เอสตราไดโอล โพรเจสเตอโรน และ โพรแลคติน ระหว่างกลุ่มทดลอง (P > 0.05) ในช่วงระยะไข่การทดลองแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเพื่อศึกษาผลของการให้แสงที่มีต่อสมรรถภาพการผลิต การทดลองที่ 1 ช่วงอายุ 18-34 สัปดาห์ให้ห่านทั้ง 4 กลุ่มได้รับแสงวันละ 16 ชั่วโมง (16L:8D) พบว่าอายุให้ไข่ฟองแรกของกลุ่ม 2 3 และ 4 มีค่าน้อยกว่าของกลุ่ม 1 (P > 0.05) ที่ระดับอายุ 21 สัปดาห์ผลผลิตไข่ของห่านกลุ่ม 4 มีค่ามากกว่าของห่านกลุ่ม 1 (P < 0.05) อัตราการไข่สูงสุดของกลุ่ม 4 มีค่าเท่ากับ 16.66 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของกลุ่ม 1 มีค่าเพียง 11.90 เปอร์เซ็นต์ ความแข็งของเปลือกไข่ของกลุ่ม 3 มีค่าน้อยกว่าของอีก 3 กลุ่มที่เหลือ (P < 0.05) ผลผลิตไข่ของห่านทุกกลุ่มมีค่าต่ำมากและลดลงอย่างรวดเร็ว การทดลองที่ 2 ช่วงอายุ 34-46 สัปดาห์ให้ห่านทุกกลุ่มได้รับแสงวันละ 8 ชั่วโมง (8L:16D) เมื่อเปรียบเทียบกับการทดลองที่ 1 พบว่าอัตราการไข่และระยะเวลาการให้ผลผลิตไข่ของห่านทดลองทุกกลุ่มมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับผลการทดลองของการทดลองที่ 1 กลุ่ม 3 ให้ผลผลิตไข่สูงสุดถึง 45.23 เปอร์เซ็นต์ซึ่งสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ ไม่พบความแตกต่างทางสถิติในค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัว ปริมาณอาหารที่กิน รวมทั้งค่าทางโลหิตวิทยายกเว้นระดับแคลเซียมไอออนซึ่งพบว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม 1 มีค่าต่ำกว่าของกลุ่ม 4 (P < 0.05) การวิเคราะห์โครงสร้างของเปลือกไข่พบโครงสร้างชนิด changed membrane และ mammillae type A ในเปลือกไข่ของห่านกลุ่ม 3 และ 4 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังตรวจพบโครงสร้างเปลือกไข่ชนิด cuffing และ confluence ในกลุ่ม 1 ผลของการฟักไข่ไม่สามารถสรุปได้เนื่องจากจำนวนไข่ฟักมีน้อยเกินไป จากการทดลองครั้งนี้สรุปได้ว่าการจำกัดแสงในช่วงระยะเจริญเติบโตไม่มีผลกระทบต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและค่าโลหิตวิทยาของห่านพันธุ์จีนเพศเมีย ในช่วงระยะไข่กลุ่มที่เคยถูกจำกัดแสงมีการเจริญพันธุ์เร็วกว่าและมีการตอบสนองต่อแสงมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตามการได้รับแสงวันยาวอย่างต่อเนื่องชักนำการดื้อแสงมีผลทำให้เกิดการหยุดไข่อย่างรวดเร็วในขณะที่แสงวันสั้นมีผลในเชิงบวกต่อสมรรถภาพการให้ผลผลิตไข่ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการวิจัยต่อไปเพื่อศึกษาหาโปรแกรมการจัดการแสงรวมทั้งปัจจัยการฟักไข่ที่เหมาะสมสำหรับห่านพันธุ์จีน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการจำกัดแสงในช่วงระยะเจริญเติบโตที่มีต่อสมรรถภาพทางการสืบพันธุ์ของห่านพันธุ์จีน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2560
การเจริญเติบโต การเจริญพันธุ์ และพฤติกรรมการสืบพันธุ์ของ กุ้งการ์ตูน(Hymenocera picta) ผลของอายุและน้ำหนักของสัตว์ตั้งท้องต่อความสมบูรณ์พันธุ์ ประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ การเจริญเติบโตของฟีตัสและสัตว์หลังคลอด รวมทั้งคุณภาพซาก สมรรถภาพการสืบพันธุ์ของสุกรลูกผสมที่เกิดจากพันธุ์ลาร์จไวท์-แลนด์เรซระหว่างสายพันธุ์ไอร์แลนด์และแคนาดา และปากช่อง 1 ความสมบูรณ์พันธุ์ ประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ และการเจริญเติบโตของฟีตัสในแพะพื้นเมืองไทย โครงการพัฒนาพันธุ์สุกรเชิงการค้าของกรมปศุสัตว์ 3.สมรรถภาพการสืบพันธุ์ของแม่สุกรพันธุ์ลาร์จไวท์ และแลนด์เรซ สายพันธุ์นอร์เวย์ และสายพันธุ์อเมริกา เพื่อผลิตสุกรลูกผสมสองสายพันธุ์ ผลของช่วงแสงต่อระบบการสืบพันธุ์และวงจรการสืบพันธุ์ในไก่พื้นเมืองไทยเพศเมีย: บทบาทของฮอร์โมนสเตียรอยด์ ศึกษาลักษณะทางการสืบพันธุ์ของปูม้าพันธุ์บ้านรุ่นที่ 1 ที่เลี้ยงในบ่อคอนกรีต สมรรถภาพการสืบพันธุ์ของแกะพันธุ์ซานต้าอิเนส ที่ระดับสายเลือดต่างๆ โครงการพัฒนาพันธุ์สุกรเชิงการค้าของกรมปศุสัตว์ 21. สมรรถภาพการสืบพันธุ์ของแม่สุกรลูกผสมที่เกิดจากพันธุ์ แลนด์เรซ-ลาร์จไวท์ ระหว่างสายพันธุ์ไอร์แลนด์และอังกฤษ การประยุกต์ใช้การเจริญเติบโตทดแทนในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์ในแพะพื้นเมืองไทยของเกษตรกรรายย่อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก