สืบค้นงานวิจัย
ผลของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบกึ่งปล่อยต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ปริมาณคอเลสเตอรอล และองค์ประกอบของกรดไขมันในเนื้อ
วิทธวัช โมฬี - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ชื่อเรื่อง: ผลของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบกึ่งปล่อยต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ปริมาณคอเลสเตอรอล และองค์ประกอบของกรดไขมันในเนื้อ
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of free-range native chicken farming on growth performance, cholesterol content and fatty acid composition of meat
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิทธวัช โมฬี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระบบการเลี้ยงแบบกึ่งปล่อย ต่อสมรรถนะ การเจริญเติบ โต ถักษณะซาก และคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมือง โดยใช้ไก่พื้นเมืองอายุ 1 วัน จำนวน 360 ตัว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 6 ซ้ำ ๆ ละ 30 ตัว โดยกลุ่มที่ 1! ทำการเลี้ยงไก่ในคอกแบบขังรวม (ร ตัวตร.ม.) ตลอดระซะเวลาการทดลอง และกลุ่มที่ 2 ทำการเลี้ยงในคอกแบบขังรวม (S ตัวเตร.ม.) และมีพื้นที่ปล่อยออกสู่แปลงหญ้า (1 ตัว/ตร.ม.) ที่อายุ 8 สัปดาห์ จนสิ้นสุดการทคลอง ไก่ทั้งสอง กลุ่มได้รับอาหารสูตรเดียวกันและเลี้ยงจนถึงอายุ 16 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าระบบการเลี้ยงไก่ทั้ง สองแบบไม่มีผลต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ส่วนประกอบซาก ไขมันในช่องท้อง และปริมาณ โภชนะ ในเนื้ออก (P>0.05) แต่อย่างไรก็ตามการเลี้ยงไก่ในระบบกึ่งปล่อยทำให้เนื้อสะโพกมีปริมาณ โปรตีนเพิ่มขึ้น และทำให้ผิวหนังของไก่มีสีเหลืองเข้มกว่าไก่ที่เลี้ยงในระบบขังรวมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (P -0.05) การเลี้ยงไก่ในระบบกึ่งปล่อยไม่มีผลทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในเนื้อแตกต่าง กัน (P>0.05) แต่ทำให้ปริมาณคอลลาเจนและค่าแรงตัดผ่านเนื้อสูงกว่าไก่ในกลุ่มที่เลี้ยงแบบขังรวม และยังช่วยเพิ่มสัดส่วนของกรดไขมันชนิด โอเมก้า-3 และลดอัตราส่วนระหว่างกรดไขมันชนิดโอ เมก้า-6 และ โอเมก้า-3 ในเนื้อ (P-0.05) นอกจากนั้นการเลี้ยงไก่แบบกึ่งปล่อยยังช่วยลดความเสียหาย จากการจิกขนของไก่ให้น้อยกว่าการเลี้ยงแบบขังรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P0.05) จาก การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการเลี้ยงไก่ในระบบกึ่งปล่อยไม่ส่งผลให้สมรรถนะการเจริญเดิบโต และ ส่วนประกอบซากดีขึ้น แต่มีส่วนช่วยในการเพิ่มปริมาณคอลลาจน สัดส่วนของกรดไขมันชนิดโอ มก้า-3 และยังช่วยลดความเสียหายจากการจิกขนของไก่พื้นเมืองให้น้อยลงกว่าการเลี้ยงแบบขังรวม
บทคัดย่อ (EN): The objective of this research was to investigate the eflect of free range raising system on growth performance, carcass characteristics and meat quality of Thai native chickens. Three hundred and sixty 1-d-old chicks were randomly allocated to 2 treatments: indoor treatment, housing in an indoor pen (5 birds/m) and free-range treatment, housing in an indoor pen (5 birds/m) with access to a grass paddock (1 bird/m) during 8 wk of age to slaughter. Each treatment was represented by 6 replications containing 30 birds each. All birds were provided with the same diet and were raised for 16 wk. The results showed that there was no difference between treatments in growth performance, carcass composition, abdominal fat yield and nutrient composition in breast meat (P>0.05). However, the chickens in the free range treatment had higher protein in thigh meat and more yellow skin than the chickens in the indoor treatment (P0.05). However, the collagen content and shear force value of the chicken meat in the free range treatment were higher than that of the chicken meat in the indoor treatment (P<0.05). In addition, the proportion of n-3 fatty acids was higher and the ratio of n-6 to n-3 fatty acids was lower in free range treatment than in indoor treatment (P<0.05). Furthermore, the feather pecking damage of the chickens in the free range treatment was lower than that of the chickens in the indoor treatment (P<0.05). These data indicated that the free range raising system had no efiect on growth performance and carcass composition, but could increase collagen content and the proportion of n-3 fatty acids in chicken meat. The free range raising system significantly reduced the feather pecking damage of the Thai native chickens.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบกึ่งปล่อยต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ปริมาณคอเลสเตอรอล และองค์ประกอบของกรดไขมันในเนื้อ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
30 กันยายน 2553
คู่มือการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นโรทาล่า การเจริญเติบโต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และคุณภาพซากและเนื้อของไก่เบตงภายใต้ระบบการเลี้ยงที่ต่างกัน การเจริญเติบโต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และคุณภาพซากและเนื้อของไก่เบตงภายใต้ระบบการเลี้ยงที่ต่างกัน ผลของระดับน้ำมันปลาทะเลในอาหาร และช่วงระยะเวลาการให้อาหาร ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต และส่วนประกอบของกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 ในเนื้อไก่พื้นเมือง ผลของระดับโปรตีนและพลังงานต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองลูกผสม ผลของการเสริมน้ำมันตับปลาหมึกในระดับต่างกันที่มีต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบของกรดไขมันในปลาดุกลูกผสม ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา ผลของสมุนไพรปวกหาดที่มีฤทธิ์ขับถ่ายพยาธิต่อการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงโดยเกษตรกร การปรับปรุงการเลี้ยงไก่พื้นเมืองในหมู่บ้านบริวารโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 1.สภาพและความรุนแรงของปัญหาต่าง ๆ ในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของเกษตรกร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก