สืบค้นงานวิจัย
วิธีการใช้สารเคมีในการรักษาโรครากขาวของยางพารา
อุไร จันทรประทิน - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: วิธีการใช้สารเคมีในการรักษาโรครากขาวของยางพารา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อุไร จันทรประทิน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: วิธีการใช้สารเคมีในการรักษาโรครากขาวของยางพารา เป็นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบวิธีการใช้สารเคมี 2 แบบ คือแบบผสมดิน เพื่อหาวิธีการที่ได้ผลดี สะดวกและประหยัด เพื่อแนะนำแก่เกษตรกรต่อไป ทำการทดลองกับต้นกิ่งตายางที่เป็นโรครากขาว ที่สถานีทดลองยางนราธิวาส ปี 2536-2538 ใช้สารเคมี 2 ชนิดคือ Tridermorph และ Cyprocunazole วิธีผสมน้ำโดยการแซะดินที่โคนต้นเป็นร่องเล็ก ๆ กว้างประมาณ 15 เซนติเมตร แล้วใช้สารเคมีเข้มข้น 0.5% (10 มิลลิลิตรผสมน้ำ 2 ลิตรต่อต้น) เทราดลงในร่อง ส่วนวิธีผสมดิน ทำโดยการขุดดินที่โคนต้นโดยรอบ กว้างประมาณ 30 เซนติเมตร ใช้สารเคมีเข้มข้น 1% ผสมกับดินที่ขุดจากโคนต้น (สารเคมี 50 มิลลิลิตรผสมดิน 5 กิโลกรัมต่อต้น) ตักดินผสมสารเคมีใส่รอบ ๆ โคนต้น ทั้ง 2 วิธีการ ทำซ้ำเมื่อครบ 6, 12 และ 18 เดือน ผลการทดลองพบว่า วิธีผสมดินจะได้ผลดีกว่าวิธีผสมน้ำ เมื่อใช้สารเคมี Cyproconazole 1% แต่วิธีการใช้ค่อนข้างยุ่งยากและสิ้นเปลืองแรงงาน เวลา และสารเคมีมากกว่าวิธีผสมน้ำ จึงเหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่มีปัญหาขาดแคลนน้ำ ในพื้นที่ทั่วไปที่ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำ ควรใช้สารเคมีผสมน้ำ ซึ่งปฏิบัติงานได้ง่าย สะดวกและประหยัดกว่า โดยใช้สารเคมี Tridermorph 0.5% ผสมน้ำ 2 ลิตรต่อต้น และใช้ได้กับต้นที่เป็นโรครุนแรงไม่เกิน 30%
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
วิธีการใช้สารเคมีในการรักษาโรครากขาวของยางพารา
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ประสิทธิภาพและวิธีการใช้สารเคมีบางชนิดต่อการควบคุมโรครากขาวในสวนยาง การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี กลุ่มวิจัยยางพารา ประสิทธิภาพของสารเคมีในท้องถิ่นต่อการป้องกันและควบคุมโรครากขาว การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากโรครากขาวในยางพาราในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย การรวบรวมและศึกษาแหล่งเกิดโรครากขาวของยางพาราในเขตปลูกยางภาคใต้ การวิจัยการใช้สารเคมีที่เหมาะสมในการผลิตยาง ประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจของยางพาราสาเหตุจากโรครากขาว ในพื้นที่ปลูกยางของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก