สืบค้นงานวิจัย
ทรัพยากรสัตว์น้ำในแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบริเวณบ้านบ่อดาน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
ทัศนีย์ ศุภพฤกษ์, อำนาจ ศิริเพชร, เทิดศักดิ์ มิตรวงค์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ทรัพยากรสัตว์น้ำในแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบริเวณบ้านบ่อดาน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
ชื่อเรื่อง (EN): Aquatic animals Resource around Artificial Habitat at Banbodan Village, Thaimuang District, Phang-nga Province.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ทำการทดลองจับสัตว์น้ำด้วยอวนจมกุ้งและอวนจมปลาบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบ้าน บ่อดาน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ที่สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2549 โดยแบ่งตามฤดูกาลของลมมรสุม พบชนิดสัตว์น้ำที่จับได้จากอวนจมกุ้ง 79 ชนิด อวนจมปลา 84 ชนิด รวม 121 ชนิด อวนจมกุ้งจับสัตว์น้ำช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (54 ชนิด) มากกว่าช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (48 ชนิด) และช่วงนอกฤดูมรสุม (31 ชนิด) มีค่าแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p>0.05) จับกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis) ได้มากที่สุด 223.71 กรัม/อวน 100 เมตร ส่วนชนิดสัตว์น้ำที่จับได้จากอวนจมปลาช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (41 ชนิด) น้อยกว่าช่วงนอกฤดูมรสุม และช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (53 ชนิด) มีค่าแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p>0.05) จับปลาสีเสียด (Scomberoides tala) ได้มากที่สุด 138.27 กรัม/อวน 100 เมตร อัตราการจับสัตว์น้ำ (กรัม/อวน 100 เมตร) ของอวนจมกุ้งตลอดทั้งปีประกอบด้วยกลุ่มกุ้ง 247.94 (28.97%) ปู 23.85 (2.79%) หมึก 10.73 (1.25%) ปลา 568.17 (66.40%) กั้ง 0.42 (0.05%) และหอย 4.63 (0.59%) อัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ยทั้งปีเท่ากับ 855.67 กรัม/อวน 100 เมตร ช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีอัตราการจับสูงสุด (1,174.71 กรัม/อวน 100 เมตร) รองลงมาคือ ช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (823.33 กรัม/อวน 100 เมตร) และต่ำสุดช่วงนอกฤดูมรสุม (475.00 กรัม/อวน 100 เมตร) ซึ่งมีค่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) อัตราการจับสัตว์น้ำ (กรัม/อวน 100 เมตร) ของอวนจมปลาตลอดทั้งปีประกอบด้วยกลุ่มปู 8.47 (1.09%) หมึก 0.62 (0.08%) ปลา 2,062.15 (98.69%) และสัตว์น้ำอื่นๆ 1.03 (0.13%) อัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ยทั้งปีเท่ากับ 773.88 กรัม/อวน 100 เมตร ช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการจับสูงสุด (1,157.33 กรัม/อวน 100 เมตร) รองลงมาคือ ช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (683.63 กรัม/อวน 100 เมตร) และต่ำสุดช่วงนอกฤดูมรสุม (483.66 กรัม/อวน 100 เมตร) ซึ่งมีค่าแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p>0.05)
บทคัดย่อ (EN): Experiment with gill net fish catch shrimp and fish gill net area habitat for sea animals Bo Dan Tai Mueang District,... Completed when the 2549 the seasonal monsoon Found type aquatic animals caught from shrimp gill net 79 type 84 types include fish gill net 121 kinds of shrimp gill net fish catch during the southwest monsoon (54 Type) over the northeast monsoon (48 type), and during the off-season (31 monsoon type) were not significant different app (P > 0.05) Catch prawns (Penaeus merguiensis) was the most 223.71 g / net 100 meters The type of fish caught from the fish gill net during the southwest monsoon (41 type) less during the off-season monsoon and the northeast monsoon (53 type) were not significantly different (P > 0.05) catch the stumps (Scomberoides Tala) was the most 138.27 g / net 100 meters Catch rate of aquatic animals (g / net 100 meters) Of shrimp gill net year-round comprises a group of shrimp 247.94 (28.97%) crab 23.85 (2.79%) ink 10.73 (1.25%) fish 568.17 (66.40%) Mantis 0.42 (0.05%) And the shells 4.63 (0.59%) capture rate average annual fish was 855.67 g / net 100 meters Southwest monsoon, the capture rate, maximum (1 174.71 g / net 100 meters), followed by the monsoon season, the Northeast (823.33 G / net 100 meters) and the lowest during the off-season 475.00 monsoon (g / M), which 100 nets are different significantly (P > 0.05) Catch rate of aquatic animals (g / M) of the 100 nets, gill net fish throughout the group 8.47 crab (1.09%) ink 0.62 (0.08%), fish 2 062.15 (98.69%) , and other aquatic animals 1.03 (0.13%) Capture rate average annual fish was 773.88 g / net 100 meters Northeast monsoon is capture rate, maximum (1 157.33 g / net 100 meters), followed by the northeast monsoon (683.63 G / net 100 meters) and the lowest during the off-season 483.66 monsoon (g / M), which is different 100 nets, no significance (P > 0.05)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ทรัพยากรสัตว์น้ำในแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบริเวณบ้านบ่อดาน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
กรมประมง
30 กันยายน 2555
กรมประมง
ประเมินผลการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบริเวณบ้านบ่อดาน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ทัศนคติของชาวประมงพื้นบ้านต่อแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบ้านบ่อดาน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา การทำประมงลอบปลาบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในจังหวัดภูเก็ต ความชุกชุมของทรัพยากรปลาหมึกในเชิงเวลาบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล บ้านบางขยะ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา การเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม และประชาคมปลาบริเวณแหล่งอาศัยขนาดใหญ่ จังหวัดระยอง ผลของการจัดวางตามจำนวนแท่งคอนกรีตที่ต่างกัน ในแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลจังหวัดระยอง บทบาทของความจำเพาะกับแหล่งอาศัยต่อโครงสร้างทางพันธุกรรมของแมลงริ้นดำ (Diptera: Simuliidae) ปริมาณโลหะหนัก และคุณภาพน้ำทะเล บริเวณแหล่งทำการประมงพื้นบ้านหลังเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ จังหวัดพังงา การเปรียบเทียบโครงสร้างประชาคมและผลจับสัตว์น้ำระหว่างแปล่งปะการังเทียมและและกลุ่มปะการังเทียมบริเวณจังหวัดพังงา สภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำจากเครื่องมือประมงพื้นบ้านบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก