
กลุ่มงานวิจัยที่น่าสนใจ

ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด จากทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันผสมขนไก่ | สวก.
ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันผสมขนไก่
ในปัจจุบันภาคเกษตรกรรมทั้งการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์จะมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่เป็นผลพลอยได้ต่างๆ.....
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklai...
....เกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งเศษพืชและเศษมูลสัตว์ ที่สามารถนำมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในท้องถิ่น ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย
สำหรับกรณีตัวอย่างที่นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์อย่างเห็นได้ชัด คือชุมชนบ้านกูเล็ง อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส โดยที่ผ่านมาเกษตรกรในพื้นที่นี้การใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ในการทำการเกษตรจำนวนมาก ส่งผลกระทบในสภาพดินเสื่อมโทรม จากปัญหาการสะสมและตกค้างของสารเคมีในดินเป็นเวลานาน และการปนเปื้อนของสารเคมีสู่แหล่งน้ำ อีกทั้งเกษตรกรมีสุขภาพทรุดโทรม ประกอบกับในชุมชนของเกษตรกรมีอาชีพเลี้ยงไก่ ซึ่งมักประสบปัญหามลภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นจากการทำฟาร์ม นอกจากนี้ยังพบการเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็นของวัสดุขนไก่ จากโรงเชือดไก่ในชุมชน
ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ชุมชนในพื้นที่ควรมีเทคโนโลยีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในท้องถิ่น มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยลดต้นทุนการผลิต การผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันผสมขนไก่ จึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีทางเลือกที่ดี เพราะช่วยลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรและใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด จากทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันผสมขนไก่ โดยอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดมีดังนี้
- ทะลายปาล์ม 5 ส่วน
- ขนไก่ 5 ส่วน
- มูลวัว 1 ส่วน
- แกลบดำ 1 ส่วน
- กากน้ำตาล 0.025 ส่วน
- สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 0.005 ส่วน
- น้ำ 0.5 ส่วน
วิธีทำมีดังนี้
1.สับทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันเล็กด้วยเครื่องสับทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันและบดขนไก่ให้มีขนาดเล็กด้วยเครื่องบด ซึ่งขนไก่ควรตากให้แห้งก่อนนำไปบด จะช่วยให้วัสดุแตกหักง่ายไม่เหนียวติดในเครื่องบด
2. นำทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันผสมกับขนไก่มูลวัวและแกลบดำ จากนั้นบีบกองปุ๋ยหมักเพื่อดูความชื้น
3. ทำกองปุ๋ยหมักในพลาสติกทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร และสูง 30 เซนติเมตร ราดด้วยสารละลายซุปเปอร์ พด. 1 ให้ชุ่ม
ขั้นตอนการเตรียมน้ำจุลินทรีย์เพื่อผสมกับปุ๋ย คือน้ำจุลินทรีย์โดยละลายกับน้ำตาลสารเร่งพด. 1 ต่อน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 0.25 : 20 โดยน้ำหนัก คนให้ละลายทิ้งไว้ 15 นาทีก่อนนำมาราดกองปุ๋ย
4.นำผ้าพลาสติกหรือผ้าใบมาคลุมเพื่อป้องกันไม่ให้ความชื้นระเหยออกจากกองปุ๋ย
5.กลับกองปุ๋ยหมักทุกๆ 7 วัน โดยหมักเป็นเวลา 2 เดือน จากนั้นนำมาตากแห้งแล้วใส่เครื่องบดเป็นผงละเอียด
6. เป็นขั้นตอนการเตรียมปุ๋ยอัดเม็ด คือผสมปุ๋ยกับดินเหนียวดินเนื้อละเอียด ซึ่งผ่านการร่อนก่อนในอัตราส่วน 1 ต่อ 0.5 โดยน้ำหนัก พร้อมกับเติมน้ำจุลินทรีย์ โดยมีอัตราส่วนของน้ำต่อสารเร่งพด. 1 เท่ากับ 10 : 0.05 โดยน้ำหนัก ลงในผงปุ๋ยหมัก คลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นนำเข้าเครื่องอัดเม็ดปุ๋ยจะถูกอัดออกมาเป็นเส้นและแตกหักเป็นเม็ด
จุดเด่นของปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันผสมขนไก่ เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นกล้าปาล์มน้ำมันอายุ 6 ถึง 9 เดือน ซึ่งจะช่วยให้ต้นกล้าปาล์มน้ำมันและเจริญเติบโตดี เพราะมีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารสูง และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของปุ๋ยทางการค้า ลดลงกว่า 5 เท่า ซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตและส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
ยกระดับข้าวสังข์หยด ของดีเมืองพัทลุง | ARDA Talk | สวก.
ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ของดีจากภาตใต้ของประเทศไทย ถูกยกระดับให้เป็นที่รู้จักสู่สากล แต่จะมีวิธีการอย่างไรนั้น ติดตามได้ใน ARDA Talk
ผู้เสวนา
1.นางสาวภาวดี ใจเอื้อ
ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สวก.
2.ผศ.ดร.อุไรวรรณ ทองแกมแก้ว
หัวหน้าโครงการวิจัย คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
3.นายวิสุทธิ์ วิบูลย์พันธุ์
ผู้ประกอบการโรงสีรับจ้างแปรรูปข้าวสังข์หยดพรีเมี่ยม
4.นายรณชัย อเปสริยโย
ประธานตรวจสอบคุณภาพการผลิตภายใน
สมาคมผู้ผลิตและค้าข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง
6:00 จุดเริ่มต้นที่ทำให้ สวก. สนใจวิจัยเกี่ยวกับข้าวสังข์หยด
ข้าวพันธุ์สังหยดเป็นข้าวที่สร้างชื่อเสียงให้กับพัทลุง เป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นข้าวที่มีค่าทางโภชนาการสูง เป็นข้าวที่ตลาดมีความต้องการสูง แต่เนื่องจากการปลูกด้วยระบบอินทรีย์ ได้ผลผลิตที่ไม่มีความสม่ำเสมอผลผลิตต่ำทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศและตลาดรับซื้อ และความไม่มีมาตรฐานของราคาขายทำให้เกษตรกรไม่สามารถประมาณการในการผลิตได้ สวก.จึงมีการสนับสนุนงานวิจัยในโครงการการยกระดับคุณภาพและการเพิ่มมูลค่าข้าวสังข์หยดพัทลุงด้วยนวัตกรรม
10:25 อย่างไรถึงจะได้ข้าวสังข์หยดพัทลุงพรีเมี่ยม
ในการวิจัยใช้ระบบการวิจัยแบบมีส่วนร่วม โดยให้ทางสมาคมผู้ผลิตและค้าข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงเป็นผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ โดยมีจุดมุ่งหมายคือต้องการข้าวสังข์หยดพรีเมี่ยมที่สูงขึ้นกว่าเดิม โดยกลุ่มเป้าหมายของการผลิตข้าวสังข์หยดพรีเมี่ยม สำหรับผู้สูงวัยและผู้รักสุขภาพ ระบบการผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล จะทำให้สามารถส่งออกข้าวในระบบเกษตรอินทรีย์ได้ และมีการควบคุมการผลิตภายในด้วยขั้นตอนที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ กลไกงานวิจัยได้ให้สมาคมมีการปฏิบัติงานร่วมกับเกษตรกรที่เป็นเกษตรกรนำร่อง และเข้าร่วมกับผู้ประกอบการโรงสีแปรรูปและสร้างระบบขึ้นมา เพื่อใช้ตรวจสอบภายในเพื่อการรองรับของผู้ตรวจสอบภายนอกเกี่ยวกับการให้คำรับรองการทำเกษตรอินทรีย์
22:58 ผู้ตรวจสอบจากภายนอก โดยได้เชิญผู้ตรวจสอบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสหรัฐอเมริกาเข้ามาตรวจสอบได้มีการตรวจสอบเกษตรกรผู้ประกอบการและตรวจสอบผู้ตรวจสอบภายในระบบบริหารสมาคมและขณะนี้อยู่ในระหว่างการรอการอนุมัติใช้ตรามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสหรัฐอเมริกา
27:40 มาตรฐานการตรวจสอบภายในมีอะไรบ้าง
สภาวะพื้นที่สิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่ใช้น้ำแบบไหนมีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนเคมีหรือไม่ แหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยดต้องมีความเชื่อถือได้ มีการตรวจสอบตั้งแต่ระยะการแตกกอ การออกรวงรวมไปถึงขั้นตอนในการเก็บเกี่ยว มีการบันทึกข้อมูลในแปลงนาถูกต้องหรือไม่ ดูวิธีการเก็บเกี่ยวรวมไปถึงการเก็บข้าวในยุ้งฉางทุกขั้นตอนจะต้องมีการบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มให้ถูกต้องและครบถ้วน
35:50 ประโยชน์ของโครงการวิจัยในครั้งนี้มีอะไรบ้าง
ผู้ประกอบการได้มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตการแปรรูปข้าวที่มีมาตรฐานแบบพรีเมี่ยม ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของอเมริกา ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างสูง ส่วนของสมาคมผู้ประกอบการมีรูปแบบการทำงานให้ชัดเจนขึ้น มีการวางแผนผังองค์กรใหม่ที่ชัดเจนมากขึ้นได้ทำงานเป็นระบบมากขึ้น ในส่วนของเกษตรกรเกษตรกรสามารถผลิตข้าวได้ตามมาตรฐานก็จะสามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้นที่ดีกว่าข้าวอินทรีย์ทั่วไป
42:20 ผู้ใดได้รับประโยชน์จากโครงการวิจัยในครั้งนี้
การทำโครงการวิจัยในครั้งนี้ยกระดับเป็น 2 ประเด็น คือ ยกระดับข้าวอินทรีย์เข้าไปให้เป็นพรีเมียม 2 คือกลุ่มเกษตรกรที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ยกระดับมาตรฐานให้เกษตรกรให้มีมาตรฐาน เกษตรกรสามารถขายข้าวได้ในราคาที่สูงขึ้นและลดขั้นตอนการทำการตลาดโดยที่ทำตามคู่มือในระบบการผลิตข้าวแบบต่างๆ ทางสมาคมก็จะเป็นผู้รับซื้อข้าวจากเกษตรกรในราคาที่สูง
กระท่อมไทย สู่การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ | ARDA Talk | สวก.
มิติใหม่กระท่อมไทย สู่การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เมื่อ“กระท่อม” ถูกปลดล็อกออกจากยาเสพติดให้โทษแล้ว ทำให้สามารถนำ “กระท่อม” มาศึกษาเพื่อใช้ในทางการแพทย์ได้ต่อไป
ผู้เสวนา
1.นางสาวปิยธิดา ถิระรณรงค์
ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนงานวิจัย สวก.
2.ผศ.ดร.สมชาย ศรีวิริยะจันทร์
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
3.รศ.ดร.จุไรทิพย์ หวังสินทวีกุล
ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
4:20 จุดเริ่มต้นของที่ให้ความสนใจในการทำวิจัยเกี่ยวกับกระท่อมเพื่อใช้ในประโยชน์ทางการแพทย์คืออะไร
เนื่องจากกระท่อมมีองค์ประกอบสำคัญในตำรับยาไทยโบราณ ซึ่งในตำรับที่ประกอบด้วยกระท่อม เช่น ยาประสะกระท่อม ยาประสะจันทน์แดงซึ่งจะเป็นการใช้รักษาอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง เนื่องจากตัวของกระท่อมมีสารสำคัญ แต่ยังไม่ได้มีการวิจัยที่มารองรับในเรื่องของสารสำคัญที่จะเป็นสรรพคุณในการป้องกันและรักษาโรค ทาง สวก. จึงเล็งเห็นความสำคัญของสมุนไพรไทยจึงได้มีการสนับสนุนและพัฒนาพืชกระท่อมตั้งแต่ปี 2561
8:50 จุดเริ่มต้นของงานวิจัยเกี่ยวกับกระท่อมคืออะไร
เนื่องจากมีการใช้เมธาโดนในประเทศไทยมากกว่า 300 ล้านมิลลิกรัมต่อปีจึงมีการพัฒนาสารสกัดจากพืชกระท่อม เพื่อใช้ในการรักษาหรือบำบัดผู้ติดสารเสพติด
14:10 หลังจากมีการปลดล็อคพืชกระท่อมสามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้หรือไม่
ในปัจจุบันมี 143 หมู่บ้านที่สามารถใช้ใบกระท่อมกินแบบวิถีชาวบ้านได้คือการเคี้ยวใบสดหรือนำใบสดมาต้มกินได้ โดยจะมีพรบ. ควบคุมกระท่อมตามมาอีก 1 ฉบับ สามารถนำไปผสมกับสารอย่างอื่นได้หรือไม่ อาจจะไม่ได้เนื่องจากมี พรบ. ยาเสพติดควบคุมอยู่อีกทีหนึ่ง
17:00 ความหลากหลายของกระท่อมมีอะไรบ้าง
ความหลากหลายของกระท่อมมี 2 รูปแบบ คือความหลากหลายทางด้านพันธุกรรมและความหลากหลายของสารออกฤทธิ์ที่อยู่ในใบกระท่อม
21:05 สามารถใช้กระท่อมอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดโทษได้
การเคี้ยวใบสดไม่ค่อยส่งผลเสียต่อร่างกายถือว่าปลอดภัย โดยในทางการแพทย์แผนไทยจะไม่มีการใช้ใบกระท่อมในเชิงเดี่ยว แต่จะมีสารหรือพืชสมุนไพรอื่นเข้ามาเพิ่มด้วย
ใช้ใบกระท่อมแบบวิถีชาวบ้านได้ หากต้องการใช้ในการรักษาหรือใช้ในทางการแพทย์จะต้องมีอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์เพื่อที่จะให้ทราบปริมาณการใช้งานเพื่อความเหมาะสมในการใช้งาน
24:00 สมบัติของกระท่อมในทางเภสัชวิทยา
27:05 ผลลัพธ์และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับงานวิจัยในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางไหน
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ค่อนข้างเป็นที่พอใจโดยโดยหลักๆที่จะนำมาใช้คือใช้เพื่อบำบัดผู้ป่วยยาเสพติด ซึ่งเป็นตำรับยาน้ำเชื่อม ในส่วนตำรับที่ 2 จะเป็นยาเม็ดที่คาดหวังว่าจะนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์โดยใช้เป็นยาแก้ปวดในอนาคต
47:30 น่าสนใจปลูกกระท่อมจะต้องทำอย่างไรบ้าง
ถ้าในอนาคตที่ พรบ. ปกระท่อมปลดล็อคแล้วสามารถรวมกลุ่มทำวิสาหกิจชุมชนปลูกพืชกระท่อมและยื่นขออนุญาตการปลูกได้ที่ กระทรวงยุติธรรม และดำเนินการตาม พรบ. ซึ่ง พรบ. ตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณา

